16 ส.ค.55 ชมรมสหกรณ์จังหวัดตาก ประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจังหวัดตาก จำกัด เพื่อร่วมกันกำหนดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจังหวัดตาก จำกัด ที่สหกรณ์การเกษตรแม่สอด จำกัด อ.แม่สอด
จากซ้าย สจ.เจริญ สุต๋า ประธานกรรมการ สกก.แม่สอด ประธานกรรมการชุมนุมฯ ตาก ถัดมา พี่ชูชีพ โภคา ประธานกรรมการ สกก.บ้านตาก จำกัด เลขานุการชุมนุมฯ ตาก
ชุมนุมฯตาก หยุดการดำเนินกิจการมานานแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านไม่เห็นมีวี่แววจะมีใครจะมานำขับเคลื่อนชุมนุมฯ นอกจากคิดให้ให้เลิกชุมนุมไปเลย ทั้งที่ตัวเลขจำนวนเงินค่าหุ้น เงินฝาก ของสมาชิก ยังมีอยู่ในชุมนุม ปัญหามีไว้แก้ ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินกิจกรรมให้ชุมนุมเกิดการขับเคลื่อนคู่ขนานกันไป ชมรมฯ เห็นว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้คงไม่ดีแน่ ประกอบกับได้รับโอกาสจากท่านศิริชัย ออสุวรรณ ประชุมชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ได้กรุณาเข้ามาช่วยสนับสนุน จึงทำให้เกิดการผลักดันให้ชุมนุมฯ จ.ตาก ขับเคลื่อนต่อไป
การประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมคณะกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์การเกษตร จ.ตาก ครั้งที่ 2 ครั้งได้เชิญสหกรณ์เข้ามาร่วมประชุมมากขึ้นกว่าเดิม มีการอภิปรายกันมากขึ้นกว่าเดิม
ท่านไกรสิทธิ์ จาก ชสท. ได้มอบให้ "ก้อง" มาเป็นตัวแทน ตอบแนวทางการดำเนินของ ชสท.ที่จะสนับสนุนขบวนการสหกรณ์ในจังหวัดตาก ส่วนท่านศิริชัย มาไม่ได้เพราะติดภาระกิจที่อื่น
ในการประชุมครั้งนี้ทางชมรมสหกรณ์ฯ ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินธุรกิจของชุมนุมฯ จ.ตาก ให้สหกรณ์สมาชิกได้เข้าใจและสอบถามกันอย่างกว้างขวาง
สกก.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด ได้อภิปรายประสบการณ์ในการทำธุรกิจร่วมกับ ชสท.
ทีมจากสหกรณ์ขนาดเล็กในพื้นที่ ต.รวมไทย ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ ตรงนี้เรามองว่าเป็นโอกาส เพราะ อ.พบพระ เป็นพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
"พี่เบิ้ม" กรรมการ สกก.วังเจ้า, กรรมการชุมนุมฯ ตาก ใจนั้นอยากเหลือเกินให้ชุมนุมขับเคลื่อน แต่ด้วยลำพังเพียงใครคนใดคนหนึ่งมันทำไม่ได้ แล้วใครมาช่วยเริ่มนำทำ..รอมานานแล้ว...พี่เบิ้มชำนาญเรื่องลำไยนอกฤดู เพราะทำเองมาตลอด ทั้งการผลิต การซื้อ การขาย....เห็นบ่นว่า ปีลำไยมันแปลกๆ ออกช่อดอกเพียบตามทฤษฎี แต่ทำไมมันใบอ่อนออกมาด้วย ถามว่าแก้ไขได้ไหม ตอบว่ามันก็ได้ แต่ต้องใช้ทุนอีกหนึ่งเหนื่อยใหญ่ๆ.....หลายๆ สวนทำสัญญาตกเขียวดอกลำไยไปแล้วล้านกว่าบาท....
ชีวิตส่วนตัวเซียนๆ ทำมาหากินกันทั้งนั้น ทุกคนมีศักยภาพหมด แต่เราจะทำอย่างไรให้ศักยภาพเหล่านครูมารวมกัน หากมองเห็นว่าเป็นแค่กรรมการสหกรณ์การเกษตรมันก็คิดอะไรต่อไม่ได้ เสื้อขาวซ้ายนั่น ผู้ตรวจสอบกิจการ สก.ลำไย ผอ.สมคิด ปันติ๊บ อดีตผู้บริหารสถานศึกษา อดีตแกนนำครูจังหวัดตาก คนทำลำไยนอกฤดูด้วยตัวเองมาตั้งแต่ยังเป็นครู แกนนำปลุกปั่นให้ชาวสวนลำไยไม่ขายเขียวเมื่อปีทีแล้ว ก็ตามจังหวะ การขายเขียวก็การแชร์ความเสี่ยง....
ซ้าย พี่ศักดิ์ ประธาน สกก.เมืองตาก ศิษย์เก่าเกษตรตาก ดูหน้า ดูอายุก็แล้วกัน เกษตรตากรุ่นไหน ทำการเกษตรด้วยตัวเอง ตอนนี้สถาปนาตัวเองทำกล้านาโยนครบวงจร ถัดมา พี่มีชัย ผู้ตรวจสอบฯ สกก.เมืองตาก วิ่งกล้วยน้ำว้าส่งตลาดไทยมาสิบกว่าปีแล้ว ช่วงหลังหากล้วยน้ำว้ายากประกอบกับแก่แล้ว ก็เลยเบามาทำเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์กับสังคมเท่าไหร่เพราะเข้าพรรษา มีประโยชน์กับเมียเท่านั้น....5555
ความจริงแล้วเราอภิปรายกันมากมาย บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ปัญหามีไว้แก้ การขับเคลื่อนชุมก็ทำคู่ขนานกันไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ของของสหกรณ์สมาชิก
สุดท้ายนี้ขอนำเสนอความคิดของผู้นำอย่าง พล.อ.คอลลิน พาวเวล จาก
The Powell Principle คนดำในอเมริกาผู้อหังการ์เป็น 65th United States Secretary of State, 12th Chairman of the Joint Chiefs of Staff, 16th National Security Advisor, etc.
เพาเวล เชื่อว่าความคิดเป็นเรื่องสำคัญ ความคิดสำคัญขนาดสามารถสร้างโลกที่รุ่งเรืองใหม่ หรือลำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างให้ล่มสลายเลยก็ได้ ดังนั้นผู้นำจึงจำเป็นต้องแสวงหาความคิดดีที่หลากหลายจากคนในองค์กรอยู่เสมอ เมื่อองค์กรลงทุนไปกับการพัฒนาบุคลากรอย่างมากมาย ก็สมควรที่องค์กรต้องได้รับประโยชน์จากการลงทุนตรงนี้ ผู้นำต้องเป็นคนที่จำเป็นต้องค้นหาความคิดดีๆ จากบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
กระบวนการตรงนี้ไม่ใช่แค่ เปิดก๊อกความคิดบุคลากร ไม่ใช่เป็นแค่การเก็บเกี่ยวความคิด แต่เป็นกระบวนการดึงบุคลากรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้นำต้องทำการปลดปล่อยความคิด แต่เป้าหมายสูงสุดคือ สร้างแรงกระตุ้นให้คนในองค์กรปลดปล่อยความคิดอย่างอิสระ
ยกเว้นการเสนอความคิดแต่ปัญหา คนต้องระบุวิธีการแก้ไขปัญหานั้นด้วย
1. กระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น กระบวนการต้องเป็นมากกว่ากล่องรับความคิดเห็นแบเดิมๆ ผู้นำต้องใช้วิธีการทุกวิถีทางเพื่อให้เข้าถึงความคิด และสนับสนุนให้เกิดความคิดที่หลากหลาย
2. ค้นหาความคิดดีๆ ความคิดดีๆ ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม ต้องสนับสนุนให้มีการสื่อสารกันในทุกทิศทาง อย่าให้ตำแหน่งและสายการบังคับบัญชาเป็นอุปสรรค ถามความคิดเห็นจากทุกคน เชิญคนภายนอกองค์มามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
3. เร่งการสื่อสารผ่านทางเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนในกระบวนการนี้ ทำให้การแสดงและถ่ายเทข้อมูลทางความคิดเป็นไปอย่างสะดวก ทำให้เป็นประโยชน์มากว่าเป็นโทษ