วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

>> การประกาศให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ









ประเด็นการขับเคลื่อนให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ

๑. สนับสนุน พัฒนาและขับเคลื่อนการรวมกลุ่มของประชาชนให้เป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ด้วยวิธีการสหกรณ์
วิธีการขับเคลื่อน

๑.๑ ส่งเสริมกลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่มีอยู่แล้วและจัดตั้งขึ้นใหม่ให้ใช้วิธีการสหกรณ์เป็นแนวทางการ       ดำเนินงาน
๑.๒ สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งและพัฒนาสหกรณ์ รวมถึงการดำเนินมาตรการช่วย       เหลือให้ประชาชนที่ด้อยโอกาส เช่น บุคคลที่พิการ สตรีและเยาวชนให้ได้รับโอกาสที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในสหกรณ์
๑.๓ พัฒนาและขับเคลื่อนระบบสหกรณ์ให้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทางด้าน       การเงิน การผลิต การรวบรวม การแปรรูป และการตลาดที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบ       สนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกและประชาชนทั่วไปในระดับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ
๑.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริม         ความเข้มแข็งของสหกรณ์ และรวมทั้งใช้ระบบสหกรณ์ให้เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
๑.๕ สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคมในการสนับสนุนและส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิธีการสหกรณ์
แนวทางปฏิบัติ
๑. รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายที่จะสนับสนุนให้กลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่แล้วและกลุ่มที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ให้ใช้วิธี       การสหกรณ์เป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่ม
๒. แต่งตั้งคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการให้     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์ให้มีความเข้ม     แข็ง 
หน่วยงานรับผิดชอบ
๑. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒. กระทรวงมหาดไทย
๓. กระทรวงแรงงาน
๔. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๓. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
๔. ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. กลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอยู่แล้วมีการบริหารงาน ที่เข้มแข็งขึ้น จากการใช้วิธีการสหกรณ์ที่มีระบบ ระเบียบปฏิบัติและระบบควบคุมที่ชัดเจน ทั้งกลุ่มที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์
๒. กลุ่มดังกล่าว จะเป็นกลุ่มที่จะกระจายประโยชน์แก่สมาชิกทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงมากขึ้นมิใช่เพียงกลุ่มเฉพาะกิจหรือกลุ่มผลประโยชน์สำหรับบางคน แต่ยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรได้เป็นอย่างดี
 ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับท้องถิ่นมากขึ้น รวมทั้งเป็นสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสหกรณ์มากยิ่งขึ้น 


๒. ขยายเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับการรับรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการสหกรณ์ของคนในชาติในทุกระดับ
วิธีการขับเคลื่อน
๒.๑ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน และ/หรือสถาบันการศึกษาในการศึกษา วิจัย กำหนดหลักสูตร และ/หรือแนวทางในการพัฒนา และขยายองค์ความรู้ด้านการสหกรณ์แก่คนในชาติในทุกระดับอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
๒.๒ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โดยผ่านการประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาในระดับประเทศและภูมิภาคให้กับคนในขบวนการสหกรณ์
๒.๓ พัฒนาแผนงานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของสหกรณ์ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งทักษะเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การจัดการการเงินของสหกรณ์ และการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ของสหกรณ์
แนวทางปฏิบัติ
๑. จัดตั้งคณะทำงานระดับชาติ ยกร่างหลักสูตร บทเรียน ที่เกี่ยวกับสหกรณ์ทั้งในระบบและนอกระบบ ในแต่ละระดับการศึกษา

๒. กำหนดเป็นนโยบายให้ทุกหน่วยงานแทรกหลักสูตรการสหกรณ์ในการอบรมสัมมนาผู้นำ ผู้บริหาร  และส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมสหกรณ์ในหน่วยงาน องค์กร และสถานศึกษา

หน่วยงานรับผิดชอบ
๑. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒. กระทรวงศึกษาธิการ
๓. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
. ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ภาครัฐเห็นความสำคัญหรือส่งเสริมให้มีการศึกษาถึงหลักการสหกรณ์อย่างจริงจัง มีหลักสูตรเกี่ยวกับการสหกรณ์ในสถาบันการศึกษาในทุกระดับอย่างทั่วถึงรัฐปลูกฝังแนวความคิด ทักษะเรื่องสหกรณ์ให้กับเยาวชนอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจเรื่องสหกรณ์สามารถสร้างสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถให้เข้าไปดูแลสหกรณ์ในท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังให้มีการทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน สร้างความสามัคคี รวมถึงได้เรียนรู้แห่งวิถีประชาธิปไตยที่เป็นหลักการสำคัญของสหกรณ์และทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนนั้นๆ

๓. การปฎิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์ ให้มีเอกภาพ และมีส่วนร่วมจากขบวนการสหกรณ์ รวมทั้งปรับทิศทางการส่งเสริมสหกรณ์ มุ่งเน้นการกำหนดและพัฒนามาตรฐานสหกรณ์
วิธีการขับเคลื่อน
๓.๑ ปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพ โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ประเภทใดกำกับดูแลสหกรณ์ประเภทนั้นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ให้กระทรวงการคลังเป็นกำกับผู้ดูแลจัดระบบเกี่ยวกับการเงินการลงทุนของสหกรณ์ เป็นต้น
๓.๒ กำหนดทิศทางการส่งเสริมสหกรณ์ที่มุ่งเน้นผลงาน การกำหนดแนวทางพัฒนา และการกำกับมาตรฐานสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์พัฒนาตนเองสู่มาตรฐานสากลเท่ากับเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm) นั้นหมายถึงงานส่งเสริมสหกรณ์ควร มุ่งวัดที่ผลผลิต (Out Put) มากกว่าเน้นที่กระบวนการ (Process)
๓.๒ มียุทธศาสตร์และแผนพัฒนาการสหกรณ์ที่ชัดเจน สร้างเครือข่ายประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคขบวนการสหกรณ์และภาควิชาการให้มีความเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายความร่วมมือ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ เป็นผู้ดำเนินงานประสานงานเครือข่าย
แนวทางปฏิบัติ
๑. ศึกษาและทบทวน โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจเกี่ยวของกับการสหกรณ์ เพื่อให้โครงสร้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ที่จะส่งเสริมและแนะนำสหกรณ์ได้ตรงกับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและทบทวนโครงสร้างระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒. แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาการสหกรณ์ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
หน่วยงานรับผิดชอบ
๑. สำนักงาน ก.พ./กพร.
๒. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๓. คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.)
๔. หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ขบวนการสหกรณ์ที่มีมาตรฐานสากลให้สหกรณ์ดำเนินการด้วยตนเอง และมีเอกภาพในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ เพื่อเป็นองค์กรที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ สร้างผลผลิตให้กับชุมชนและเป็นที่พึ่งของสมาชิกได้อย่างแท้จริง
๒. ผลักดันยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการเชิงบูรณาการในขบวนการสหกรณ์สามารถนำคุณค่าของสหกรณ์สู่ชุมชนอย่างแท้จริง


๔. รัฐต้องสนับสนุนด้านงบประมาณกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขบวนการสหกรณ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
วิธีการขับเคลื่อน

๔.๑ จัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสม และเพียงพอต่อการขับเคลื่อนสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการสหกรณ์
๔.๒ ผลักดันงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
๔.๓ จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการสหกรณ์ผ่านหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
แนวทางปฏิบัติ
๑. ภาครัฐสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ให้ชัดเจนและต่อเนื่อง 

๒. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
หน่วยงานรับผิดชอบ
๑. สำนักงบประมาณ
๒. คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
๓. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๔. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
๕. ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ทำให้มีงบประมาณพียงพอสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนสหกรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการสหกรณ์
๒. ทำให้การขับเคลื่อนสหกรณ์เป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป็นที่เชื่อถือในขบวนการสหกรณ์ และทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๓. การพัฒนาขบวนการสหกรณ์จะมีแนวทางที่ชัดเจน โดยมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยเป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจดำเนินการและขอตั้งงบประมาณ

๕. พัฒนาและปรับปรุงกฏหมายสหกรณ์ ให้เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ ภายใต้หลักการ อุดมการณ์และ
วิธีการสหกรณ์
วิธีการขับเคลื่อน
๕.๑ ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันสูงสุดของขบวนการสหกรณ์ โดยลดบทบาททางการเมืองจากการได้มาซึ่งผู้บริหารงาน และเพิ่มองค์ประกอบของบุคลากรภาควิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน เน้นให้มีการกระจายอำนาจบริหาร และภารกิจในส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น เช่น มีสำนักงานสาขาในระดับภูมิภาค/จังหวัด รวมถึงการปรับโครงสร้างและกำหนดบทบาทสหกรณ์แต่ละประเภทให้เอื้อต่อการดำเนินงาน เป็นต้น
๕.๒ ศึกษา ทบทวน และปรุงกฏหมายสหกรณ์ ให้เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ภายใต้หลักการ อุดมการณ์และวิธีการสหกรณ์ ให้เหมาะสมกับสหกรณ์ในแต่ละประเภท
๕.๓ ปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้สอดคล้องและรองรับกับสหกรณ์ในแต่ละประเภท 
แนวทางปฏิบัติ
แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา พัฒนาและปรับปรุงกฏหมายสหกรณ์ทั้งฉบับ ให้เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ ภายใต้หลักการ อุดมการณ์และวิธีการสหกรณ์ และให้เหมาะสมกับสหกรณ์ในแต่ละประเภท
หน่วยงานรับผิดชอบ
๑. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
๓. ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดของขบวนการสหกรณ์ให้มีความโปร่งใส และมีบทบาทในการกำกับดูแลสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการ
กระจายการบริหารลงไปสู่ภูมิภาค มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อให้ชุมชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
๒. เพื่อให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานภายใต้กรอบของกฏหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
๓. ทำให้หน่วยภาครัฐสามารถเข้าไปกำกับดูแลได้ตรงกับภารกิจและมีความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้านนั้นๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ดูแลสหกรณ์ร้านค้าทั้งระบบ กระทรวงการคลัง เป็นผู้แลสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น