วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

>> คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 278/2549 การจ่ายคืนค่าหุ้นกรณีขาดทุนเกินทุนสำรองที่มีอยู่

ปกติเมื่อสมาชิกสหกรณ์ลาออกจะต้องได้รับคืนเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์ ซึ่งมูลค่าหุ้นในสหกรณ์นี้มีมูลค่าคงที่ ไม่มีมูลค่าขึ้นลงแบบในตลาดหุ้น มีหุ้นหนึ่งหมื่นบาท ก็ได้คืนหนึ่งหมื่นบาท

แต่สมาชิกจะลาออกได้ก็ต่อเมื่อไม่มีภาระผูกพันในสหกรณ์ทั้งในฐานะลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน และต้องได้รับการอนุมัติให้ลาออกได้โดยมติของคณะกรรมการดำเนินการ

แต่ในกรณีที่สหกรณ์มีผลการดำเนินงาน "ขาดทุนมากกว่าจำนวนทุนสำรอง" ที่สหกรณ์มีอยู่ในขณะนั้น "การจ่ายคืนค่าหุ้นคืนให้สมาชิกเต็มจำนวน จะทำไม่ได้" เนื่องจาก

1. ทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์มีมูลค่าไม่เต็มตามจำนวนที่แท้จริง


2. ตามหลักการลงทุน ซึ่งสมาชิกเจ้าของหุ้น "ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาดทุนด้วย" ซึ่งสหกรณ์สามารถจ่ายคืนค่าหุ้นให้สมาชิก "น้อยกว่า" มูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ได้

นายทะเบียนสหกรณ์จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 16 (8) ประกอบมาตรา 43 (5) แห่ง พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 กำหนด "วิธีการจ่ายคืนค่าหุ้น" คืนให้สมาชิกในกรณีที่สหกรณ์/ชุมนุมสหกรณ์ ขาดทุนเกินจำนวนทุนสำรองที่มีอยู่

ในกรณีนี้ หากสหกรณ์ใดไม่ได้ "กำหนดวิธีการจ่ายคืนค่าหุ้นให้สมาชิกไว้ในข้อบังคับ" สหกรณ์ต้องดำเนินการแก้ไขข้อบังคับตามคำแนะนำนี้ โดยอาศัยอำนาจของสมาชิกในที่ประชุมใหญ่ลงมติให้แก้ไขข้อบังคับ

รายละเอียดคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 278/2549 เรื่อง ให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์กำหนดเรื่อง การจ่ายคืนค่าหุ้นในกรณีที่ขาดทุนเกินทุนสำรองที่มีอยู่ไว้ในข้อบังคับ ลงวันที่ 21 มีนาคม 2549....คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่....


ขอขอบคุณ ผจก.สมศักดิ์ แห่ง สกก.รวมใจถวายในหลวงแม่สอด จำกัด ที่ได้ถามเรื่องการแก้ไขข้อบังคับกรณีนี้  และขอขอบคุณ คุณพงษ์พันธ์  เอกอัตชัย ผอ.กลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ฯ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก ที่อำนวยความสะดวกอย่างรวดเร็วเป็นอย่างดียิ่งตลอดมา ในระดับที่แค่โทรศัพท์ปรึกษาเวลาไหนก็ได้ อีกสักพักเอกสารจะมาวางรอไว้ที่โต๊ะทำงาน


เรามาดูกันต่อไปว่า "ทำไมต้องแก้ไขข้อบังคับ" 
   
     1. นายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ ที่กำหนดไว้ใน พรบ.สหกรณ์ 2542 ตามมาตรา 43 (5) และตามมาตรา 16 (8) และมาตรา 43 (5) เป็นอันว่านายทะเบียนสหกรณ์ใช้อำนาจสั่งสหกรณ์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้

     2. ทำไมต้องให้แก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์ด้วย
         ในกรณีนี้อยู่บนเหตุผลที่ว่า เพื่อเกิดความชัดเจน แน่นอนในเรื่องการการปฏิบัติในกรณีนี้ด้วยการให้สหกรณ์กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ ซึ่งข้อบังคับนี้เหมือนกับรัฐธรรมนูญของประเทศ ถือว่าเป็นกฎใหญ่ที่ของสหกรณ์ที่ครอบสหกรณ์ไว้ ซึ่งข้อบังคับนี้เป็นอำนาจของสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นผู้ลงมติกำหนดให้สหกรณ์ถือใช้เอง (ต้องเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกที่จะเป็นองค์ประชุมอีกประเด็น)

     3. เมื่อดำเนินการตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งแล้ว มีประโยชน์อะไรบ้าง
         - เมื่อจะคืนค่าหุ้นให้กับสมาชิก เป็นการคืนให้ตามมูลค่าความเป็นจริงในขณะนั้น
         - สมาชิกรับค่าหุ้นตามมูลค่าถือเป็นจริง ส่วนที่ขาดไป ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน (หากต้องการรับคืนค่าหุ้นเต็มจำนวน ก็มาร่วมกันรับผิดชอบสร้างกำไรให้เกิดค่าหุ้นมีมูลค่าเต็มจำนวน)
         - การกำหนดวิธีปฏิบัติไว้ในข้อบังคับสหกรณ์ ถือได้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้กำหนดเอง เป็นผู้รับผลที่จะต้องปฏิบัติตามที่ตนเองลงมติ
         - สหกรณ์มีข้อบังคับเป็นหลักในการปฏิบัติในกรณีนี้

รายชื่อสหกรณ์ที่ยังไม่ได้เ้แก้ไขข้อบังคับเพื่อกรณีนี้
เฉพาะพื้นที่ 4 อำเภอฝั่งตะวันออกของจังหวัดตาก จำนวน 34 สหกรณ์
ข้อมูลเมื่อ 31 มีนาคม 2555
                   
1.สกก.เมืองตาก.......ปีบัญชี 31 มี.ค.
2.สกก.บ้านตาก.......ปีบัญชี 31 มี.ค.
3.สกก.สามเงา.......ปีบัญชี 30 มิ.ย.
4.สผน.สฟ.บ.หนองชะลาบ.......ปีบัญชี 31 มี.ค.
5.สผน.ชป.เกาะตะเภา-ตากตก.......ปีบัญชี 31 มี.ค.
6.สก.ผู้ปลูกลำไย จ.ตาก.......ปีบัญชี 31 ธ.ค.
7.สก.โคเนื้อ จ.ตาก.......ปีบัญชี 3จ พ.ย.
8.สกก.ฉัตรชัยฟาร์ม (หยุดดำเนินการ).......ปีบัญชี 31 ก.ค.
9.รส.ค่ายพระเจ้าตาก.......ปีบัญชี 30 ก.ย.
10.ส.เคหสถานรุ่งเรืองทรัพย์.......ปีบัญชี 31 มี.ค.
11.ส.เคหสถานชุมชน 72 ห้อง.......ปีบัญชี 31 พ.ค.
12.ส.เคหสถานตากสิน.......ปีบัญชี 31 ธ.ค.
13.สก.ตากบีฟ.......ปีบัญชี 30 เม.ย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น