วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

>> ผลการวิเคราะห์ SWOT เพื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาโคเนื้อ 2554 - 2555 ของกรมปศุสัตว์


จุดแข็ง (Strength)
1. ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ
2. แหล่งอาหารหยาบมีปริมาณมากและราคาถูก รวมทั้งผลพลอยได้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ต้นทุนต่ำ
3. ปลอดจากโรควัวบ้า
4. ระบบการเลี้ยงสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เลี้ยง และตรงกับความต้องการของตลาด
5. หน่วยงานมีศักยภาพในการศึกษาด้านการผลิต ด้านอาหารสัตว์ ด้านการป้องกันกำจัดโรคระบาด ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจายอยู่ทั่วประเทศ

จุดอ่อน (Weak)
1. ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีอายุมาก การศึกษาน้อย การยอมรับความรู้และเทคโนโลยีใหม่เพื่อการพัฒนาอาชีพเลี้ยงโคเนื้อเป็นไปได้ช้า
2. ผู้เลี้ยงขาดการรวมกลุ่ม ทำให้ยากต่อการควบคุมคุณภาพ และปริมาณผลผลิต ขาดการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการตลาด
3. โรคปากเปื่อยและเท้าเปื่อยยังมีอยู่ ทำให้มีข้อจำกัดการส่งโคมีชีวิตและเนื้อโคไปขายต่างประเทศ
4. การใช้พื้นที่การเกษตรยังไม่เหมาะสม ขาดพื้นที่ที่มีระบบชลประทานสำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ ทำให้พืชอาหารสัตว์ไม่เพียงพอในการเลี้ยง
5. การเลี้ยงโคต้องลงทุนสูง ให้ผลตอบแทนในระยะเวลานาน และขาดแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
6. โคเพศเมียถูกทำลาย ทำให้ขาดแม่โคพื้นฐานในการผลิตโคเนื้อ
7. การซื้อขายโคและเนื้อโคยังไม่มีมาตรฐานทั้งในด้านคุณภาพและราคา ยังไม่มีการจัดแบ่งเกรดคุณภาพเนื้อโค
8. โรงฆ่าส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน
9. วัคซีนป้องกันโรคระบาดไม่เพียงพอ ได้แก่ วัควีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย โรคไข้สามวัน โรคคอบวม โรคแท้งติดต่อ
10. ระเบียบ ข้อบังคับ ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ ยังไม่เอื้ออำนวยความสะดวกต่อระบบการตลาด
11. ผู้ประกอบการขาดความรู้ในด้านการจัดการหลังการฆ่า ได้แก่ การเก็บรักษา การตัดแต่งแยกชิ้นส่วนตามการใช้ประโยชน์ การบ่มเนื้อ
12. การพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ทำลูกชิ้น หรือนิยมบริโภคในรูปเนื้อสด
13. ขาดการประชาสัมพันธ์การสร้างค่านิยมในการบริโภคเนื้อโคที่ผลิตในประเทศ

โอกาส (Opportunity)
1. ไม่มีข้อขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มประเทศมุสลิม ทำให้มีโอกาสส่งออกเนื้อโคเนื้อได้ทั่วโลก
2. ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านอาหารไทยเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทำให้มีโอกาสพัฒนาเนื้อโคเพื่อการส่งออกประเภทพร้อมบรโภค (ready to eat)
3. สามารถสร้างเอกลักษณ์ของโคเนื้อไทย (New Brand) ที่ได้เนื้อจากโคพื้นเมืองที่มีขนาดตัวเล็ก โตได้ดีในสภาพเลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ อาจจัดเป็น Organic beef หรือ Natural beef
4. มีระบบการผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีคุณภาพเทียบเท่ากับโคเนื้อที่ผลิตได้ในต่างประเทศ (Grain fed beef)
5. ความต้องการบริโภคเนื้อโคคุณภาพดีมีปริมาณสูงขึ้นตลอดเวลา ได้แก่ นักท่องเที่ยว และผู้บริโภคภายในประเทศหันมาบริโภคเนื้อคุณภาพและสะอาดปลอดภัย
6. ผลการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสส่งเนื้อโคไปจำหน่ายต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
7. ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในเขตอาเซียนมีความต้องการโคเนื้อ และเนื้อโคเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น

อุปสรรคและภัยคุกคาม (Threats)
1. การยอมรับของผู้บริโภคเนื้อโคยังอยู่ในระดับต่ำ โดยมีทัศนะคติว่าเนื้อโคเหนียว มีกลิ่นเหม็น ความเชื่อทางศาสนา ไม่ยอมรับคุณภาพของเนื้อโคไทย เลือกบริโภคแต่เนื้อโคต่างประเทศ
2. คนไทยมีโอกาสในการเลือกบริโภคเนื้อประเภทอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น เนื้อไก่ เนื้อสุกร รวมทั้งอาหารตามธรรมชาติ เช่น กุ้ง ปลา หอย เป็นต้น
3. การลงทุนข้ามชาติของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลียมาลงทุนในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น เพื่อเลี้ยงโคขุนโดยมรต้นทุนต่ำ ทำให้เกิดการแข่งขันสูงในตลาดส่งออกของประเทศไทย โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในตะวันออกกลาง
4. การเปิดการค้าเสรี (FTA) ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถกำหนดภาษีศุลกากรเพื่อป้องกันการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
5. มีการลักลอบนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศ (เนื้อเถื่อน) เข้ามาภายในประเทศ และยังไม่มีมาตรการควบคุมปราบปรามอย่างจริงจัง
6. เกิดโรคระบาดและภัยธรรมชาติ

**********************************

Reporter : A Horse With No Name
แสดงความคิดเห็น คลิก "ความคิดเห็น" ด้านล่างนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น