วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

>> ซีพีแนะรัฐแก้ปัญหาส่งออกข้าว ชี้ทำเกษตรให้เป็นสหกรณ์

ซีพีแนะรัฐแก้ปัญหาส่งออกข้าว ชี้ทำเกษตรให้เป็นสหกรณ์
ซีพีแนะรัฐแก้ปัญหาส่งออกข้าว ชี้ทำเกษตรให้เป็นสหกรณ์
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สายธุรกิจข้าวและอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาการส่งออกข้าวไทยที่ต้องเสียแชมป์การส่งออก เพราะราคาข้าวในประเทศที่สูงจากนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาลที่ทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถขายข้าวแข่งกับต่างประเทศได้ โดยระบุว่า ภาครัฐและเอกชนต้องผนึกกำลังปรับประสิทธิภาพการส่งออกข้าวไทย ด้วยการส่งเสริมให้มีการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์และให้ความรู้และเพิ่มการบริโภคข้าวไทยให้กว้างขวางขึ้น เช่นเดียวกับการใช้กลยุทธ์การตลาดด้านการท่องเที่ยวในตลาดโลก

ปรับปรุงงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยโดยกรมการข้าวและกรมวิชาการเกษตรให้มีพันธุ์ข้าวใหม่ที่เป็นข้าวไทยมีคุณภาพและประหยัดต้นทุนให้เกษตรกร ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเพาะปลูกให้ถูกวิธีเริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการเก็บเกี่ยวและหลักเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิผลอย่างจริงจัง ส่งเสริมการใช้ระบบสหกรณ์เพื่อควบรวมพื้นที่เพื่อทำให้จัดการพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรในการเพาะปลูกและปฎิรูประบบการทำนาให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังมากขึ้น

เนื่องจากระบบสหกรณ์จะทำให้การจัดสรรระบบสาธารณูปโภค ในการพัฒนาพื้นที่นาได้สะดวกและส่งเสริมให้การใช้นโยบายรับจำนำอย่างโปร่งใส โดยรัฐบาลต้องรับภาระเรื่องสต็อกข้าว ระบบการบริหารคลังสินค้าข้าว การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้าวต้องปฎิบัติอย่างจริงจัง ขณะที่รัฐบาลต้องหาวิธีการระบายข้าวที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยรัฐต้องดำเนินการอย่างมืออาชีพและมีความโปร่งใส รวมทั้งการจัดเก็บสินค้าข้าวเพื่อเป็นคลังสินค้าอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

นายสุเมธ กล่าวว่า หากรัฐและเอกชนร่วมมือกันจะทำให้ระบบการค้าข้าวไทย ซึ่งภาครัฐมีบทบาทกำหนดแนวทางหลักจะส่งผลให้เกิดผลประโยชน์กับประเทศได้อย่างเต็มที่และไทยยังคงสถานะการเป็นผู้นำการส่งออกข้าวคุณภาพที่ดีและมีมูลค่า

ผู้สื่อข่าว : นภา ศรประสิทธิ์
ข่าวจริง สปริงนิวส์ ทันเหตุการณ์ เห็นอนาคต

go6TV: "ช่างภาพ TPBS" ยืนยันกลางศาล "ฟาบิโอลา-ช่างภาพอิตา...

go6TV: "ช่างภาพ TPBS" ยืนยันกลางศาล "ฟาบิโอลา-ช่างภาพอิตา...: วันที่ 27 ธันวาคม 2555 (go6TV) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง 63 ศาลนัดไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำ ช.10...

>> สองนักกรีฑาสาววังเจ้า-ผดุงปัญญา คว้านักกีฬายอดเยี่ยมวันกีฬาแห่งชาติ

สองนักกรีฑาสาววังเจ้า-ผดุงปัญญา คว้านักกีฬายอดเยี่ยม วันกีฬาแห่งชาติ



“สุนิษสา” เยาวชนทีมชาติ คว้ารางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมตามคาด ขณะที่นักกีฬาดาวรุ่งหญิง “มิ่งกมล” นักกีฬาในโครงการสปอตฮีโร่ กกท.สังกัด ร.ร.ผดุงปัญญา อนาคตนักกรีฑาทีมชาติ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

นายมงคล สัณฐิติวิฑูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 โดยภายในงานมีบุคคลสำคัญในวงการกีฬา, นักกีฬาชื่อดังจากฝ่ายกีฬาชมรมกีฬา สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ- เอกชน ของจังหวัดตาก มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง ที่ห้องอาหารชมปิง โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดตาก  เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555สรุปผลรางวัลได้ดังนี้


นักกีฬานักกีฬาสมัครเล่นชายดีเด่น ได้แก่ 
       1. นายชนะโชค เดชอภิรัตนมงคล นักกีฬาชนิดกีฬากอล์ฟ
       2. นายณัฐวัฒน์ ศุภชีวกุล นักกีฬาชนิดจักรยาน

นักกีฬาสมัครเล่นหญิงยอดเยี่ยม  ได้แก่ 
       นางสาว สุนิษสา บุญประสาร นักกีฬาชนิดกรีฑา (ขว้างค้อน)

นักกีฬาดาวรุ่งหญิง ได้แก่ 
       1. เด็กหญิง มิ่งกมล คุ้มผล นักกีฬาชนิดกรีฑา (ขว้างค้อน)
       2. เด็กหญิงรัฐนิชา บุญเดชา นักกีฬาชนิดว่ายน้ำ

ผู้ฝึกสอนกีฬายอดเยี่ยม  ได้แก่.
       นายอดิศักดิ์ คงเฟื่อง ผู้ฝึกสอนทีมกรีฑาจังหวัดตาก

โล่รางวัลเกียรติยศ ให้กับฝ่ายกีฬา ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดตาก
       ฝ่ายกีฬาฟุตบอล สมาคมกีฬาจังหวัดตาก

หน่วยงานที่สนับสนุนกีฬาดีเด่น ได้แก่ 
       องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก

ผู้สนับสนุนกีฬาดีเด่น  จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
       1. นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
       2. นายณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก
       3. นายอานนท์  ทวีเกื้อกูลกิจ นายกเทศมนตรีเมืองตาก


ผู้สนับสนุนกีฬายอดเยี่ยม  จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
        1.  นายชรินทร์        หาญสืบสาย          สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก
        2.   นายแพทย์วิชัย   วนดุรงค์วรรณ      ประธานบริหารโรงพยาบาลวิชัยเวช
        3.   นายชัยยุทธ        เสนีย์ตันติกุล        อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก
        4.  นายกฤษณะ       พุ่มสนธิ์                 ที่ปรึกษา สมาคมกีฬาจังหวัดตาก

บุคลากรทางกีฬาดีเด่น จำนวน 5 รางวัล ได้แก่
        1.  นายประเสริฐ     อินทับ                   อุปนายกสมาคมกีฬาจังหวัดตาก
        2. นางพรรณทิพย์   ไชยชนะ                ปฎิคม สมาคมกีฬาจังหวัดตาก
        3..นายราเชนทร์      สุวรรณโชคสกุล    เหรัญญิก สมาคมกีฬาจังหวัดตาก
        4.. นายฟรีอี             เละเซ็น                 รองเลขาธิการสมาคมกีฬาจังหวัดตาก
        5..  นายฉัตรชัย        คำไคร้                  ฉัตรชัยฟาร์ม


ทั้งนี้ ในปี 2556 จังหวัดตาก ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)  สำนักงานตาก สมาคมกีฬาจังหวัดตาก และองค์กรปกครองท้องถิ่น รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 41 รอบคัดเลือก “ทีลอซูเกมส์” ในราวเดือนพฤศจิกายน 2556  ณ สนามกีฬากลางจังหวัดตาก ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ที่มา : ปิงเมยตาก

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

>> สมาคมกีฬาจังหวัดตากจัดการแข่งขันกีฬา ในงานตากสินฯ

สมาคมกีฬาจังหวัดตาก จับมือกับจังหวัดตาก และองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก จัดการแข่งขันกีฬา ในงานตากสินมหาราชานุสรณ์และงานกาชาดจังหวัดตาก ประจำปี 2555-2556

นายอำนาจ นันทหาร นายกสมาคมกีฬาจังหวัดตาก  แถลงข่าวว่า ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2555- 3 มกราคม 2556 ที่สนามกีฬาเทศบาลเมืองตาก อ.เมือง จ.ตาก สมาคมกีฬาจังหวัดตาก โดยการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาก และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก จะจัดการแข่งขันกีฬา 3 ประเภทชนิดกีฬา เซปักตะกร้อ ฟุตบอล และฟุตซอล เยาวชน ประชาชนทั่วไป และผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมและพัฒนากีฬา ส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพ และคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนจังหวัดตาก เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัดตาก เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ และกีฬาแห่งชาติ และกีฬาอาชีพ ในรายการต่าง ๆ ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนจัดขึ้นทั่วไปในแต่ละปี และที่สำคัญจะเป็นการคัดเลือกนักกีฬาตัวแทนจังหวัดตาก ในประเภทต่าง ๆ ที่จังหวัดตากจะรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ รอบคัดเลือกภาค 5 ใน 15 จังหวัดภาคเหนือ ในปลายปี 2556

นายอำนาจ กล่าวว่า กีฬาที่จัดขึ้นในงานตากสินมหาราชานุสรณ์และงานกาชาดจังหวัดตากในปีนี้ จัดการแข่งขันร่วม 3 ประเภท มีกีฬาเซปักตะกร้อชาย-หญิง 6 ประเภทด้วยกัน
   1. ทีมเดี่ยว ประชาชนทั่วไปชาย
   2. ทีมเดี่ยว ประชาชนทั่วไปหญิง
   3. ประเภททีมเดี่ยวโอเพ่น เยาวชนชาย อายุไม่เกิน 18 ปี
   4. ประเภททีมเดี่ยว เยาวชนชาย  (จำกัดฝีมือ)
มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตาก อายุไมเกิน 15 ปี 5.ประเภททีมเดี่ยว (จำกัดฝีมือ) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดตาก อายุไม่เกิน 13 ปี และ 6 ประเภททีมเดี่ยวชาย อายุ 40 ปีขึ้นไป

ส่วนกีฬาฟุตบอล 7 คน มีการแข่งขัน 2 ประเภท
   1. เยาวชนชาย อายุ ไม่เกิน 18 ปี และ
   2. ประชาชนโอเพ่นทั่วไป กีฬาฟุตซอล มี 2 ประเภท เยาวชนอายุ ไม่เกิน 18 ปี และโอเพ่นผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป สมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 21 ธันวาคม ที่สมาคมกีฬาจังหวัดตาก ศูนย์ กกท.สำนักงานตาก สนามกีฬากลางจังหวัดตาก ต.น้ำรึม อ.เมือง จ.ตาก

ผู้ชนะเลิศในทุกประเภทกีฬา รับถ้วยรางวัลเกียรติยศและเงินรางวัล ชนะเลิศถ้วยรางวัลเกียรติยศ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก รองชนะเลิศอันดับ 1 นายณัฐวุฒิ     ทวีเกื้อกูลกิจ นายก อบจ.ตาก รองชนะเลิศอันดับ 2 นายอำนาจ นันทหาร นายกสมาคมกีฬาจังหวัดตาก และรองชนะเลิศอันดับ 3 นายอานนท์ ทวีเกื้อกูลกิจ นายกเทศมนตรีเมืองตาก หรือนายชูชาติ ชื่นมงคลสกุล อุปนายกสมาคมกีฬาจังหวัดตาก และประธานฝ่ายกีฬาตะกร้อ หรือ ดร.สรรพสิริ อรชัยพันธ์ลาภ อุปนายกสมาคมกีฬาจังหวัดตาก และประธานฝ่ายกีฬาฟุตบอล  จึงขอเรียนเชิญชาวตาก ไปร่วมเชียร์และให้กำลังใจกับนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันในวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น โดยพร้อมเพรียงกัน.


ที่มา : ปิงเมย


วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

>> ปิดฉากยุคค่าแรงถูก อาเซียนถึงเวลารัฐ-เอกชน เร่งปรับตัว


ปิดฉากยุคค่าแรงถูก อาเซียนถึงเวลารัฐ-เอกชน เร่งปรับตัว
ในปี 2556 นอกเหนือจากการที่แรงงานไทยทั่วประเทศอีกกว่า 70 จังหวัดจะได้รับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล

ด้วยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน หลังจากที่มีการปรับเพิ่มให้กับ 7 จังหวัดนำร่องไปก่อนหน้านี้แล้วในต้นปีที่ผ่านมา ก็ดูเหมือนว่าแนวโน้มการขึ้นค่าแรงดังกล่าวจะไม่ได้มีแต่ในเฉพาะแค่ในไทยเสียแล้ว เพราะหากสังเกตให้ดีจะพบว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกันต่างก็อินเทรนด์ไปกับกระแสการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำด้วยเช่นกัน

ไล่ไปตั้งแต่ รัฐบาลมาเลเซียเตรียมจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปีหน้า ขณะที่เวียดนามก็ประกาศให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแก่บริษัทเอกชนอีก 2530% และล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถึง 44% ไปอยู่ที่ 230 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ราว 6,900 บาท) ในปีหน้าและมีแนวโน้มว่าเมืองอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นตามมาในอีกไม่ช้านี้

ไม่เว้นแม้แต่พม่าเอง ก็มีแววว่าเตรียมที่จะออกกฎหมายกำหนดค่าแรงขั้นต่ำในอีกไม่ช้านี้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันมีรายงานข่าวว่ารัฐบาลกำลังพิจารณากฎเกณฑ์และรายละเอียดปลีกย่อยอยู่

สะท้อนภาพชัดว่า ยุคสมัยแห่งการใช้แรงงานราคาถูก ต้นทุนต่ำ ซึ่งเคยใช้เป็นโมเดลในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาตลอดหลายปี ได้เดินทางมาถึงจุดจบแล้ว

ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวโน้มดังกล่าวได้สร้างความหนักใจและความกังวลให้กับหลายฝ่าย โดยเฉพาะบรรดาผู้ประกอบการอยู่ไม่น้อย เพราะการขึ้นค่าแรงอย่างรวดเร็วย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มบรรดาผู้ประกอบการเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีทุนไม่มาก ซึ่งต่างโอดครวญเป็นเสียงเดียวกันว่าจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และบางรายถึงกับขู่ว่าอาจถึงขั้นปลดคนงาน และต้องเลิกล้มกิจการไป

สังเกตได้จากการที่บรรดาผู้ประกอบการเอกชนท้องถิ่นในอินโดนีเซีย รวมกุล่มกันกดดันทางการจาการ์ตาในการงดเว้นการบังคับใช้กฎหมายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกับบริษัทที่ยังไม่พร้อม ขณะที่ฝ่ายนายจ้างในไทยและมาเลเซีย ก็ร้องขอเวลาในการปรับตัวกับการที่ต้องทำตามข้อกำหนดการเพิ่มค่าแรงมากขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกิดความกังวลอีกว่าการเพิ่มค่าแรงอย่างรวดเร็วอาจทำให้สินค้าและข้าวของแพงขึ้น จนส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภาวะย่ำแย่อยู่แล้ว ให้ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก อาทิ เวียดนาม ซึ่งในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 7.08% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วน สิงคโปร์ เมื่อเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ก็มีความกังวลอีกว่าต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขึ้นค่าแรงก็อาจจะส่งผลเสียทำให้ภูมิภาคอาเซียนไม่เป็นที่ดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน และอาจหันไปหาที่อื่นๆ ที่มีต้นทุนถูกกว่า เพื่อใช้ในการลงทุนแทนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความกังวลต่อการขึ้นค่าแรงเป็นจำนวนมาก แต่หากพินิจพิเคราะห์ถึงการปรับเพิ่มค่าแรงในอาเซียนจะพบว่า แนวโน้มดังกล่าวนี้ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เลย

เนื่องจากถ้าหากรัฐบาลไม่ดำเนินการ ในไม่ช้าก็จะถูกประชาชนและผู้ใช้แรงงานในประเทศรุมกดดันให้ต้องดำเนินการอยู่ดี เพราะอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคข้าวของต่างๆ ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เงินในกระเป๋ากลับมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของประเด็นการหาคะแนนนิยมทางการเมืองจากผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย

กล่าวให้ชัดก็คือ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับไม่ดีขึ้นเลย

เห็นได้จากการที่คนขับรถตู้ชาวจีนในสิงคโปร์ที่ได้ก่อเหตุประท้วงรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีให้เห็นบ่อยนัก เนื่องจากคนงานเหล่านี้ไม่พอใจต่อค่าแรงที่ได้รับ สวัสดิการ สภาพความเป็นอยู่ต่างๆ ที่รู้สึกว่าแย่เกินกว่าที่สมควรจะได้รับ โดยเฉพาะนับตั้งแต่ที่รัฐบาลได้ออกมาตรการเข้มงวดกับบริษัทที่จ้างชาวต่างชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันให้บริษัทต่างๆ หันมาจ้างและเพิ่มค่าแรงคนงานในประเทศมากขึ้น

ขณะที่เมื่อกลางสัปดาห์ คนงานในกรุงจาการ์ตาก็รวมตัวกันประท้วงและเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาให้การดูแลสวัสดิการคนงาน รวมถึงให้การขึ้นค่าแรงเป็นไปตามที่เคยให้สัญญาไว้

เหตุผลประการต่อมา ก็เป็นผลมาจากแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกอย่างภาวะเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง สหรัฐ ยุโรป และจีน ที่ซบเซาในระยะ 45 ปีที่ผ่านมา จนส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศที่ใช้โมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มุ่งพึ่งพาการส่งออกมากจนเกินไป โดยเฉพาะไทยและมาเลเซีย ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆ ในเอเชียจึงหันมาทบทวนแนวทางใหม่ด้วยการสร้างฐานการบริโภคและการซื้อขายจากตลาดภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่สำคัญก็คือการเพิ่มอำนาจการซื้อให้กับประชาชนในประเทศเป็นอันดับแรก

นอกจากนี้ หากมองในอีกมุมหนึ่ง การขึ้นค่าแรงครั้งนี้ก็ไม่ได้สร้างผลเสียต่อการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติอย่างที่คิดกันไว้ โดยเฉพาะการมีรายได้ที่มากขึ้นของประชาชนจะกลายเป็นแรงดึงดูดชั้นดีเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากในมุมมองนักลงทุนต่างชาติขณะนี้ไม่ได้สนใจเฉพาะแค่การลงทุนโดยอาศัยประโยชน์จากแรงงานต้นทุนต่ำอย่างเดียวแล้ว แต่ยังได้มองไปถึงการเข้าถึงตลาดฐานผู้บริโภคขนาดใหญ่ของภูมิภาคอีกด้วย

ดังนั้น การเพิ่มอำนาจการซื้อและการบริโภคของประชาชนจึงเปรียบดั่งเป็นโอกาสทองของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาค้าขายในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดตะวันตกกำลังอยู่ในช่วงซบเซาและถดถอยอย่างหนัก เห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่จากตะวันตกที่มีแผนเตรียมเพิ่มการลงทุนในเอเชียและอาเซียนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด จีเอ็ม หรือแม้แต่ ไฮเนเก้น ที่เข้ามาซื้อหุ้นบริษัท เอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรี่ (เอพีบี) ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ในอาเซียน จากเอฟแอนด์เอ็น โดยแข่งกับ ไทยเบฟ ของไทยอย่างดุเดือดช่วงกลางปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสำคัญของภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี

“การขึ้นค่าแรงจะนำไปสู่การดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคการบริโภค เห็นได้จากยอดการลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) ในอินโดนีเซียในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะว่านักลงทุนไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องค่าแรงราคาถูกแล้ว แต่ได้มองข้ามไปยังเรื่องการเข้าถึงตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่กว่า 240 ล้านแล้ว” ซูเซียนลิม นักเศรษฐศาสตร์อาเซียน ของธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี เมื่อวันอังคารที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียน ยังได้แสดงความเห็นคัดค้านต่อความคิดที่ว่าการมีค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะทำให้นักลงทุนหนีไปลงทุนที่อื่น โดยระบุว่า แม้ว่าอาเซียนจะขึ้นค่าแรง แต่โดยรวมเมื่อเทียบค่าแรงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อย่างเช่นแถบเมืองชายฝั่งตะวันออกของจีน จะพบว่าค่าแรงอาเซียนยังถูกกว่ามาก เห็นได้จากข้อมูลของธนาคารซิตี้แบงก์ที่ระบุว่าค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยในกรุงจาการ์ตาต่ำกว่าเมืองแถบชายฝั่งตะวันออกของจีนถึง 60%

สอดคล้องกับความเห็นของ เหว่ยจางกิต นักเศรษฐศาสตร์อาเซียนจากธนาคารซิตี้แบงก์ที่ระบุว่า นอกเหนือจากค่าแรงที่อาเซียนถูกกว่าจีนแล้ว ภูมิภาคอาเซียนยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจและดึงดูดนักลงทุนอยู่อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน ค่าไฟ รวมถึงปัจจัยการผลิตอื่นๆ ที่ถูกกว่า จึงกล่าวได้ว่าเมื่อเทียบปอนด์ต่อปอนด์แล้ว อาเซียนน่าสนใจกว่าจีนหลายช่วงตัว โดยเฉพาะต้นทุนที่นอกเหนือจากค่าแรงที่เหนือกว่ากันมาก

ถึงกระนั้น แม้ว่าการขึ้นค่าแรงจะส่งผลและเป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆ ในย่านอาเซียนไม่สามารถจะหลีกหนีความจริงนี้ได้แล้ว

แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลและภาคเอกชนควรคิดต่อไปให้ดีก็คือ จะทำเช่นไรให้การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของประเทศให้มากที่สุด โดยเฉพาะการที่รัฐบาลจะต้องเสริมศักยภาพและความสามารถของแรงงานให้ควบคู่ไปกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็จะต้องมองประโยชน์ที่จะได้ในระยะยาว ไม่ใช่มองแค่ว่าเป็นเพียงการทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น

ที่มา : Post Today. Last update : 12/7/2012 2:03:27 PM

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

>> มาซาฮิโร โฮรีเอะ วีรบุรุษของการปฏิรูปราชการตัวจริง


โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ : มาซาฮิโร โฮรีเอะ วีรบุรุษของการปฏิรูปราชการตัวจริง
กระแสทรรศน์ มติชน 14 พ.ย.2555

เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ผู้เขียนได้ร่วมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น กับนิสิตปริญญาโทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีโอกาสดีที่ได้รับฟังการบรรยายของศาสตราจารย์มาซาฮิโร โฮรีเอะ รองประธานสถาบันบัณฑิตศึกษา สำหรับนโยบายสาธารณะแห่งชาติ (National Graduate Institute for policy Studies) ของประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในนามว่า GRIPS อย่างสมใจหลังจากที่พลาดโอกาสไปฟังคำบรรยายของท่าน เมื่อคราวที่ท่านมาประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายนปีนี้เอง

ผู้เขียนได้ทราบถึงกิตติศัพท์ของศาสตราจารย์มาซาฮิโร โฮรีเอะ มาร่วมสิบปีแล้วจากหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาและตัวอย่างผลงาน วิธีคิดของฮาจารย์โฮรีเอะในขณะที่ท่านยังรับราชการอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ของหน่วยราชการของประเทศญี่ปุ่น

จนได้เป็นปลัดกระทรวงการประสานงานนโยบายแห่งชาติ แล้วจึงโอนย้ายตัวเองมาเป็นอาจารย์และรองประธานของ GRIPS ในปัจจุบันเพื่อนำเอาความรู้และประสบการณ์จริง ในทางรัฐประศาสนศาสตร์มาถ่ายทอดให้กับอนุชนรุ่นหลังต่อไป

มาซาฮิโร โฮรีเอะ เรียนรัฐศาสตร์สาขาการปกครอง (Government) จากมหาวิทยาลัยโตเกียวแล้วเข้ารับราชการในกรมการจัดการภาครัฐของสำนักนายกรัฐมนตรีจึงได้ทุนไปศึกษาต่อปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์และอบรมฝึกงานในภาควิชาบริหารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเยลอีก 1 ปี

เสร็จแล้วก็กลับไปรับราชการต่อจนไต่เต้าขึ้นเป็นปลัดกระทรวง จากผลงานที่มาซาฮิโร โฮรีเอะ ใช้หน่วยงานของเขาที่มีกำลังคนถึง 1,220 คนทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจราชการแผ่นดิน (ombudsman) เข้าตรวจโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่บรรดา ส.ส.และ ส.ว.

ซึ่งก็เหมือนเมืองไทยแหละครับ ที่มีโครงการก่อสร้างใช้เงินงบประมาณแผ่นดินไปสร้างถนนควายเดิน, สนามบินในป่า, สนามกีฬากลางของจังหวัดเอาไว้เลี้ยงวัว, การสร้างโรงแรมหรือรีสอร์ตไว้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของผู้แทนและหมู่พวก

และที่สำคัญที่สุดคือประมูลโครงการของงบประมาณของการทหารที่จัดว่ามีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดเนื่องจากมีการฮั้วกันอย่างโจ๋งครึ่มจนถูกมาซาฮิโรกับลูกน้องทำรายงานความบกพร่องเป็นที่ฉาวโฉ่ ทำให้ทางกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นต้องร่างแบบฟอร์มการประมูลใหม่เป็นพันๆ รายการ

และเปิดให้มีการประมูลอย่างโปร่งใส พร้อมทั้งยังต้องจัดการตีพิมพ์ผลการประมูลโครงการต่างๆ ของทางการทหารสู่สาธารณชนอีกด้วย

จากผลงานของการเอาวิชาการมาปฏิบัติจนได้รับการยอมรับทั้งในญี่ปุ่นและในนานาประเทศมาซาฮิโร โฮรีเอะ จึงได้ชื่อเสียงว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ทำการลดทอนหนี้สาธารณะของประเทศญี่ปุ่นที่มีกว่า 5.6 ล้านล้านเหรียญอเมริกัน (ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง)

ศาสตราจารย์โฮรีเอะเปิดคำบรรยายด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าบรรดานักการทูตมืออาชีพของอังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นส่วนใหญ่จะเรียนมาทางประวัติศาสตร์ (History) ซึ่งท่านเองก็แปลกใจและสงสัยมาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเข้ามาเรียนรัฐศาสตร์แล้วจึงจะเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือการศึกษาอดีตอย่างมีระบบ

อาทิ เมื่อเช้านี้ก็เป็นอดีตไปแล้วและอดีตนั้นครอบคลุมทุกอย่างในโลกอยู่แล้ว ศาสตราจารย์โฮรีเอะยืนยันว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์และมีลักษณะของวิชารัฐศาสตร์อย่างชัดแจ้งคือการเป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary)

คือไปขอยืมแนวคิดและวิธีการของสาขาวิชาต่างๆ ตามความเหมาะสม ในกรณีของศาสตราจารย์โฮริเอะท่านได้นำเอาวิธีคิดและวิธีการของวิชาเศรษฐศาสตร์, ธุรกิจและสถิติเข้าประยุกต์กับรัฐประศาสนศาสตร์มาประเมินความคุ้มค่าของโครงการต่างๆ ของรัฐบาลโดยศาสตราจารย์โฮริเอะกล่าวว่า

"คนญี่ปุ่นชอบที่กำหนดเป้าหมายและทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำเพื่อที่จะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายแต่ไม่ค่อยประเมินราคาของงานชิ้นนั้นๆ เลยว่าคุ้มหรือไม่ !"

มาซาฮิโร โฮรีเอะ ได้พัฒนาฐานข้อมูล (databases) ซึ่งป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีการจัดการเพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึง จัดการและปรับปรุงได้ง่าย ของการใช้จ่ายและการประมาณการของการใช้จ่ายก่อสร้าง ของโครงการของรัฐให้กับประชาชนญี่ปุ่น เข้าถึงได้ง่ายโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต

อันทำให้ประชาชนสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบ ของนักการเมืองและพนักงานของรัฐ โดยมีข้อมูลที่อ้างอิงได้ชัดแจ้งว่าโครงการของรัฐโดยเฉพาะโครงการการก่อสร้างนั้น ได้มีการกำหนดราคากลางไว้เกินราคาที่เหมาะสมไปเท่าไร อันส่อให้เห็นถึงการคอร์รัปชั่นที่ไม่อาจปฏิเสธและดิ้นไม่หลุดได้ ของนักการเมืองและพนักงานของรัฐ

โฮรีเอะชอบอ้างถึงแนวคิด Reinventing Government ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังในสมัยประธานาธิบดีคลินตันซึ่งการ Reinventing Government ก็คือปรัชญาและแนวคิดในการเปลี่ยนโฉมภาคราชการคือรัฐบาลนั่นแหละ ซึ่งพอสังเขปได้ดังนี้

1.ต้องการให้ระบบราชการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงมากกว่าลงมือทำงานเอง

2.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ชุมชนเป็นเจ้าของ และเป็นระบบราชการที่มอบอำนาจให้กับประชาชนไปดำเนินการเองมากกว่าที่จะเป็นกลไกที่คอยให้บริการแต่อย่างเดียว

3.ต้องการให้ระบบราชการมีลักษณะของการแข่งขันการให้บริการสาธารณะ

4.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยภารกิจมากกว่าขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบ

5.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ให้ความสำคัญต่อผลของการปฏิบัติงานมากว่าสนใจถึงปัจจัยนำเข้าทางการบริหารงานและขั้นตอนการทำงานทั้งหลาย

6.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มุ่งสนองตอบต่อการเรียกร้องของลูกค้ามากกว่าที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตัวระบบราชการและข้าราชการเอง

7.ต้องการให้ระบบราชการดำเนินงานในลักษณะที่เป็นแบบรัฐวิสาหกิจมุ่งการแสวงหารายได้มากกว่าการใช้จ่าย

8.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มีการเฝ้าระวังล่วงหน้า คือ ให้มีการเตรียมป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตมากกว่าที่จะคอยให้ปัญหาเกิดขึ้นแล้วค่อยตามแก้

9.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่มีการกระจายอำนาจจากข้างบนลงไปสู่ข้างล่าง ตามลำดับชั้น โดยเน้นให้ข้าราชการระดับปฏิบัติงานหลักมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการทำงานเป็นทีม

10.ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ปรับเปลี่ยนไปตามกลไกของตลาด

โฮรีเอะกล่าวว่า "การตัดสินใจทางการเมืองส่วนใหญ่จะอยู่ที่งบประมาณนี่แหละแต่เราก็ควรต้องมีการใช้ความสมเหตุสมผลใส่ลงไปด้วยไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองและข้าราชการประจำใช้แต่เรื่องการเมืองมาตัดสินแต่เพียงอย่างเดียว"

ซึ่งโฮรีเอะได้จัดระบบให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นมาทางอีเมล์ มาสู่หน่วยงานของรัฐและรัฐบาลได้โดยตรงซึ่งก็มีการรายงานมาจากประชาชนเป็นจำนวนมากและไม่ขาดสายตั้งแต่ตอนที่โฮรีเอะก่อตั้งศูนย์ประสานงานนี้ขึ้นมาใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์มาซาฮิโร โฮรีเอะ ได้สรุปตอนท้ายการบรรยายว่าด้วยการตอบคำถามผู้เขียนว่า ผู้ที่ศึกษารัฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ไม่ควรจำกัดตัวเองอยู่ในกรงขังของสาขาวิชาย่อยของตนเอง อาทิ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรม ฯลฯ 

ควรต้องเปิดใจกว้างตามธรรมชาติของวิชารัฐศาสตร์ โดยอ้างตัวท่านเองเป็นตัวอย่าง ว่าท่านเรียนมาทางการปกครอง (Government) แต่ก็ได้ผันตัวเองมาทำงานทางการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) และยืมวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์และสถิติมาใช้ในการวางแผนทำงานของท่าน ซึ่งถือเป็นสหวิทยาการ (inter disciplinary) อย่างแท้จริง

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
กระแสทรรศน์


วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> จองที่นั่งด่วน รับแค่ 5,000 คน งาน 40 ปี สหกรณ์การเกษตรบ้านตาก จำกัด

จองที่นั่งด่วน  รับจำนวนจำกัดแค่ 5,000 คน 22 กุมภาพันธ์ 2556 ยิ่งใหญ่ตระการตากับงาน 40 ปี สหกรณ์การเกษตรบ้านตาก จำกัด


วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> ผ่านพ้นไปแล้ว การประมูลคลื่น 3G (2.1GHz) เพื่อคนไทยได้ใช้ 3G มาตรฐานโลก

16 ต.ค. ประมูลคลื่น 3G (2.1GHz) ผ่านพ้นไปเรียบร้อย ท่ามกลางความความขัดแย้งทางความคิดสุดขั้วแบบไทยๆ ทั้งก่อนหน้าและหลังการประมูล
ติดตามข่าวเรื่องคลื่น 3G ตั้งแต่มีใช้ในลาว ในกัมพูชา ฯลฯ ในความเคลื่อนไหวที่นิ่งสนิท เต็มไปด้วยปัญหาทางกฎหมายของประเทศไทยแลนด์แดนศิวิไลซ์  ส่วนความฝันเรื่อง 4G นั้น ไม่มีแม้กระทั่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ประเทศไทยเราเต็มไปด้วยผู้รู้ นักวิชาการที่ฉลาดเลิศเลอ สื่อมวลชนที่เมามันในอารมณ์ อุดมไปด้วยความถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว สูงส่งด้วยคุณธรรม จริยธรรม 

ในแต่ละเรื่องมีหลายองค์ประกอบ เหรียญมีหลายด้าน มุมมองก็มีหลายมุมมอง ทำไมไม่คิดถึงผลประโยชน์ของประชาชน ผู้บริโภคก็คือประชาชน ถึงวันนี้ยังมองผู้ประกอบการ พ่อค้า เป็นผู้ร้ายในสายตา แล้วประเทศนี้ก็เป็นได้แค่ไก่จิกกันอยู่ในสุ่ม  ทำไมไม่คิดกันไกลๆ มากกว่าคิดได้แค่ปัญหาทางเทคนิค ปัญหาผลตอบแทนของรัฐ เมื่อประมูลกันได้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ เม็ดเงินลงทุนในโครงการ เฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในช่วง 3 ปี เม็ดเงินก็ไม่ต่ำแสนล้านแล้ว มูลค่าทางธุรกิจการสื่อสาร โทรคมนาคมที่จะเพิ่มขึ้น การพัฒนาเนื้อหาใหม่ๆ เพื่อรองรับคลื่น 3G การตลาด ผู้ประมูลได้ 3 ราย จะยอมร่วมหัวจมท้ายฮั้วบริการกันตลอดไปได้หรือ  ฯลฯ

หรือนี่คืออัตลักษณ์นักวิชาการไทย มันเป็นแบบนี้ทุกวงการ แม้กระทั่งวงการราชการ ต่างจากนักธุรกิจที่ประนีประนอมมากกว่า หูไว ตาไว เรียนรู้ตลอดเวลา สมองคิดหาทางพัฒนางานตลอดเวลา ยืดหยุ่นได้ทุกนาทีตามสภาวะแวดล้อม สถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจ พบเจอคำอธิบายเรื่อง การสร้างศักยภาพของธุรกิจ หรือ Business Competency นั่งมองแล้วคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย คิดรุกหรือคิดรับ อนิจา...น้ำลายจากลมปากคนฉลาด...ท่วมประเทศไทย
เทคโนโลยี 3G นั้น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ( International Telecommunication Union – ITU ) ได้กำหนดให้คลื่น 2.1GHz เป็นคลื่นความถี่สากลสำหรับใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้เครื่องโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G ทั้งหมดที่ผลิตออกมาจะรองรับคลื่น 2.1GHz เป็นหลัก ถึงจะรองรับคลื่นอื่นๆ ต่างกันออกไป

เหตุผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือทุกวันนี้ประเทศไทยมีคลื่น 2.1GHz ส่วนนี้ว่างอยู่ถึง 45MHz การปล่อยให้คลื่นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเหล่านี้ว่างไว้โดยไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศนั้น มันช่างน่าเสียดาย 

การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ นั้นยังสามารถแก้ไขปัญหาโทรศัพท์เคลื่อนที่สายหลุด ไม่มีสัญญาณ สัญญาณขาดๆ หายๆ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตช้า เนื่องจากโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความถี่ไม่พอใช้งาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากปริมาณคลื่นที่ไม่สมสัดส่วนกัน เช่นผู้ให้บริการบางรายมีผู้ใช้บริการมากมากหลายล้านราย แต่กลับมีคลื่นความถี่ในการให้บริการอยู่น้อย ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากกระจุกอยู่ในคลื่นแคบๆ ที่รองรับผู้ใช้ได้น้อย ขณะที่ผู้ให้บริการบางรายนั้นมีผู้ใช้งานเพียงไม่กี่แสนราย แต่กลับมีคลื่นความถี่ในการให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดสรรคลื่นให้มากขึ้นให้กับผู้ให้บริการที่มีผู้ใช้มาก จะทำให้ประชาชนได้รับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างถาวร

ทุกวันนี้ระบบโทรคมประเทศไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบสัญญาสัมปทานโดยเอกชนเป็นผู้วางโครงข่ายให้กับรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลแล้วเข้าบริหารโครงข่ายเหล่านี้ในช่วงเวลาที่กำหนดโดยแบ่งเงินส่วนแบ่งรายได้ให้ การประมูลครั้งนี้จึงถือเป็นการพลิกโฉมวงการการโทรคมนาคมของประเทศไทเปลี่ยนผ่านจากยุคผูกขาดด้วยระบบสัมปทานไปสู่ระบบการให้ใบอนุญาตเป็นครั้งแรก โดยผู้ชนะการประมูลจะได้รับใบอนุญาตโดยตรง ลดการจ่ายส่วนแบ่งรายได้เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและเงินเข้ากองทุน USO ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาโอกาสและความเท่าเทียมทางการสื่อสารให้คนไทยทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน แม้จะอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเพียงใดก็สามารถเข้าถึงการสื่อสารเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเงินที่ได้จากการประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ในครั้งนี้ จะถูกนำส่งเข้ารัฐ (ผ่านกระทรวงการคลัง) เพื่อให้จัดเก็บเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้าน อื่นๆต่อไป

>> จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆ ใน AEC

วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของทุกประเทศ ไม่มีใครสมบูรณ์เพอร์เฟค อยู่ที่ว่าจะใช้จุดแข็งมากลบจุดอ่อนได้อย่างไร


1.ประเทศสิงคโปร์
   จุดแข็ง
       • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก
       • การเมืองมีเสถียรภาพ
       • เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ
       • แรงงานมีทักษะสูง
       • ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
       • มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ
   จุดอ่อน
       • พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
       • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

2.ประเทศอินโดนีเซีย
   จุดแข็ง
       • ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       • ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
       • มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
       • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
       • ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง
   จุดอ่อน
       • ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว
       • สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

 3.ประเทศมาเลเซีย
   จุดแข็ง
       • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
       • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
       • ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร
      • แรงงานมีทักษะ
   จุดอ่อน
       • จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
       • ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
       • มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

4.ประเทศบรูไน
   จุดแข็ง
       • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก
       • การเมืองค่อนข้างมั่นคง
       • เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน
   จุดอ่อน
       • ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน
       • ขาดแคลนแรงงาน
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
       • การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก
       • ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

5.ประเทศฟิลิปปินส์
   จุดแข็ง
       • ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน)
       • แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้
   จุดอ่อน
       • ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน
       • ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ
       • การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก

 6.ประเทศเวียดนาม
   จุดแข็ง
       • ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน)
       • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
       • มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร
       • การเมืองมีเสถียรภาพ
       • ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา
   จุดอ่อน
       • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
       • ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง
   ประเด็นที่น่าสนใจ
       • มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว

 7.ประเทศกัมพูชา
    จุดแข็ง
       • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ
       • ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day)
    จุดอ่อน
       • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
       • ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง
       • ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ
    ประเด็นที่น่าสนใจ
       • ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้

 8.ประเทศลาว
    จุดแข็ง
       • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ
       • การเมืองมีเสถียรภาพ
       • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)
    จุดอ่อน
       • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
       • พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล
    ประเด็นที่น่าสนใจ
       • การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่

 9.ประเทศพม่า
    จุดแข็ง
       • มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
       • มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
       • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)
    จุดอ่อน
       • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
       • ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย
    ประเด็นที่น่าสนใจ
       • การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ

 10.ประเทศไทย
    จุดแข็ง
       • เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก
       • ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
       • สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง
       • ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง
       • แรงงานจำนวนมาก
    จุดอ่อน
       • แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ
       • เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง
    ประเด็นที่น่าสนใจ
       • ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว
       • ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง

ที่มา :  http://www.thai-aec.com/140

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> 10 ตุลา 55 ศึกษาดูงาน สกก.ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 คณะของชมรมสหกรณ์จังหวัดตาก ร่วมกับ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตาก เดินทางไปศึกษาดูงาน สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จำกัด สหกรณ์ที่กล้าคิดนอกกรอบ...!
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกสับปะรด  ทำให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีการเพาะปลูกสับปะรดมากที่สุดในประเทศ  จากการปลูกสับปะรดเพื่อขายผลสดในประเทศในอดีต  จนมีปริมาณมาก  เกินความต้องการของตลาด  จนนำไปสู่ การปลูกเพื่อส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อการแปรรูป  ซึ่งสามารถรองรับผลผลิตได้เกือบ  100  เปอร์เซ็นต์    ทำให้เกษตรกร มีการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามโรงงานแปรรูปที่เกิดขึ้น
           
ปี พ.ศ. 2528  เป็นอีกครั้งหนึ่ง  ที่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด  นอกจากจะประสบปัญหา ภัยธรรมชาติในการทำการเกษตรในอดีตเหมือนกับพืชอื่นๆ แล้ว  ปัญหาผลผลิตสับปะรดที่มีมาก  เกินความต้องการของโรงงานแปรรูป  และตลาดบริโภคในประเทศ  ส่งผลทำให้เกษตรกรชาวไร่สับปะรด ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก   การส่งสับปะรดเข้าขายโรงงานแปรรูป  เกษตรกร ส่วนใหญ่ไม่มีโควต้า  กับโรงงานต้องผ่านคนกลาง หรือที่เรียกว่า  แผงรับซื้อสับปะรด  ซึ่งในขณะนั้นโรงงานรับซื้อสับปะรด  กิโลกรัมละ 1.10 บาท  แต่แผงรับซื้อจากเกษตรกรเพียงกิโลกรัมละ  30 สต.  และยังมีสับปะรดอีกส่วนหนึ่งไม่มีโควต้า  ต้องรอจนเน่าและต้องทิ้งเกิดความเสียหายขาดทุน  ด้วยเหตุนี้  ชาวไร่สับปะรดในเขตพื้นที่ตำบลไร่เก่าในขณะนั้น  ได้มีการรวมกลุ่มกันปรึกษาหารือ  เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา   การประกอบอาชีพทำไร่สับปะรด  โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มชาวไร่สับปะรดบ้านไร่เก่าขึ้น  มีสมาชิก  26  คน  และรวมหุ้นได้จำนวนเงิน 260,000 บาท  โดยมี นายพิบูลย์  สุกิจปาณีนิจ  เป็นประธานกลุ่ม  และนาย สุรัตน์  มุนินทรวงศ์  เป็นผู้จัดการกลุ่ม   และได้รับความอนุเคราะห์ที่ทำการสำนักงาน  ซึ่งเป็นอู่จอดรถของนายขวัญชัย  วัฒนากร  ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอีกท่านหนึ่ง โดยได้ปรับปรุงเป็นสำนักงานและอาคารทำการรวบรวมสับปะรดจากสมาชิกส่งเข้าโรง งานเรื่อยมา  และต่อมาได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานของทางราชการ ให้มีการรวมตัวกันจัดตั้งในรูปแบบของสหกรณ์  เพื่อรองรับการบริหารงานที่จะเติบโตในอนาคต  รวมทั้งเป็นการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

10  กุมภาพันธ์  2529  ได้มีการประชุมเกษตรกรชาวไร่สับปะรด  เพื่อเข้าชื่อขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์  ณ หอประชุมมูลนิธิสว่างเมธีธรรมสถาน  ตำบลไร่เก่า โดยมีนายวิชัย  บุญนาค  นายอำเภอปราณบุรี  และนายประทิน  ศุภนคร  สหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในขณะนั้นเป็นผู้ให้แนวทางและร่วมจัดตั้ง
         
7  เมษายน  2529  กลุ่มได้รับการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์  ประเภทสหกรณ์การเกษตร โดยใช้ชื่อว่า  “สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด  จำกัด”  และได้เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่  4  กรกฎาคม  2529   โดยใช้สำนักงานที่ทำการเดิม และได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มชาวไร่สับปะรดบ้านไร่เก่าที่มอบให้ เพื่อทำการปรับปรุง และจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน จำนวนเงินทั้งสิ้น 150,000  บาท

สหกรณ์มีสมาชิกแรกตั้ง  269 ราย  ทุนเรือนหุ้น  1,000,600  บาท  มีคณะกรรมการ 15 ท่าน  โดยมี  นายพิบูลย์  สุกิจปาณีนิจ  เป็นประธานคณะกรรมการท่านแรกของสหกรณ์ และมีเจ้าหน้าที่จำนวน  3  อัตรา  ประกอบไปด้วย  ผู้จัดการ  การเงิน  และบัญชี  ในปีแรกของการดำเนินงาน  สหกรณ์ได้ดำเนินธุรกิจที่เป็นการช่วยเหลือชาวไร่โดยการเป็นคนกลางในการรวบ รวมผลผลิตสับปะรดจากสมาชิกส่งเข้าโรงงานแปรรูป มีปริมาณถึง  56,000  ตัน  คิดเป็นมูลค่า 137 ล้านบาทเศษ  รวมทั้งได้นำสินค้าปัจจัยการผลิตปุ๋ยยาเคมีการเกษตร มาบริการและจำหน่ายให้กับสมาชิกเป็นเงินถึง  3  ล้านบาทเศษ  และหลังจากนั้นช่วงระยะเวลาอีก  2  ปีเศษ  ธุรกิจสหกรณ์ได้เติบโตขึ้นเป็นลำดับ  ทั้งการรวบรวมสับปะรดส่งโรงงาน และจัดหาปัจจัยการผลิตปุ๋ยยาเคมีการเกษตร  สร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก ตลอดจนผู้ที่ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์  ทำให้พื้นที่สหกรณ์ที่ดำเนินงานอยู่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจและให้ บริการแก่สมาชิก

ในช่วงปลายปี พ.ศ.  2531  สหกรณ์ได้ใช้เงินที่ได้กำไรสะสม จากการดำเนินงานสหกรณ์  ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง  ซื้อที่ดินจำนวน  11  ไร่เศษ  และได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องจักรกล  จากศูนย์ช่างสหกรณ์ที่ 8 หุบกะพง  โดยมีมูลค่าที่ดินที่ซื้อและถมเสร็จ  รวมเป็นจำนวนเงิน  2  ล้านบาทเศษ และได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารคลังสินค้า  และสำนักงานอยู่ในอาคารเดียวกันโดยใช้เงินทุนของสหกรณ์เอง  มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น  1,500,000  บาท
วันศุกร์ที่  13  ตุลาคม  2532  เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี  ครั้งที่  5  ของสหกรณ์  พร้อมกับโอกาสนี้ สหกรณ์ได้จัดให้มีพิธีเปิดอาคารสำนักงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ขึ้น  โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายอุดมศักดิ์  ทั่งทอง  ซึ่งดำรงตำแหน่งในขณะนั้น ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารหลังใหม่แห่งนี้
         
การดำเนินงานของสหกรณ์เติบโตอย่างต่อเนื่อง  จากผู้รวบรวมสับปะรดส่งโรงงาน  โควต้ารายใหญ่ในเขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ใกล้เคียง  ปีละ  1  แสนตันเศษ  และมีบทบาทในการต่อรองราคา จนทำให้สมาชิกและเกษตรกรได้รับประโยชน์จากการซื้อขายสับปะรดที่ได้รับมูลค่า เพิ่มขึ้นจำนวนมาก  และอีกบทบาทหนึ่งของการเป็นผู้แทนเกษตรกรในเวทีต่าง ๆ  ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาเรื่องสับปะรดของชาวไร่สับปะรด ที่มักจะมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ  นอกจากการดำเนินงานและดำเนินธุรกิจหลักๆ แล้ว  สหกรณ์ยังมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
         
6  มกราคม  2533  สหกรณ์ได้ใช้พื้นที่ด้านหน้าที่ว่างอยู่ เปิดเป็นตลาดนัดซื้อขายสินค้าพืชผักผลไม้ ของกินของใช้  ทุกๆ วันเสาร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพ และอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก  เกษตรกร และชุมชนใกล้เคียง
จากความจำเป็นด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงด้านการเกษตรของสมาชิก  และด้านอื่นๆ 20  มิถุนายน  2536  สหกรณ์ได้เปิดให้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดย่อม จำหน่ายน้ำมันดีเซลเป็นชนิดแรก ให้บริการแก่สมาชิก  และเกษตรกร  ตลอดจนลูกค้าที่ผ่านไปมา  โดยการจำหน่ายน้ำมันราคาถูก และเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จนทำให้สหกรณ์สามารถจำหน่ายน้ำมันได้สูงสุดถึงเดือนละ  1  ล้านลิตรใ นขณะนั้นและได้มีการนำเอาน้ำมันชนิดต่าง ๆ เข้ามาบริการจนครบถ้วนในปัจจุบัน
         
จากการดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้าปุ๋ย ยา  เคมี และวัสดุการเกษตร  ของสหกรณ์ที่เติบโตไม่หยุดยั้ง  ด้วยการพัฒนาบุคคลากรให้เป็นมืออาชีพทางธุรกิจและได้รับการยอมรับ  ตลอดจนได้รับการไว้วางใจจากสมาชิกและเกษตรกร  จนทำให้ร้านค้าที่รับสินค้าจากสหกรณ์ไปจำหน่าย  มากกว่า  20  ร้านค้า  ทั่วทั้งพื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจสินค้ากับกลุ่มเกษตรกร  และสหกรณ์ต่างๆ   อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากบริษัทผู้ผลิต และผู้ค้าชั้นนำ  ให้สหกรณ์เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าชนิดต่างๆ ด้วยดีตลอดมา
         
วันที่  15  พฤษภาคม  2551  สหกรณ์ได้ฤกษ์เปิดร้านค้าปุ๋ยยาเคมีการเกษตรหลังใหม่ ที่ให้บริการสินค้าที่ครบถ้วน รวมถึงการให้บริการแก่สมาชิกและเกษตรกรที่มาใช้บริการ  ได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  รวมถึงรองรับกับผู้ใช้บริการที่มีเพิ่มมากขึ้น เปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยุด  ตั้งแต่  6  โมงเช้า  ถึง  5  โมงเย็น  ด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และมากด้วยประสบการณ์
จากการติดตามและเห็นการเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้สหกรณ์เข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่

ปี 2547 สหกรณ์ได้ดำเนินการผลิตต้นกล้ายางพารา  เพื่อให้ได้ต้นกล้าพันธุ์ที่ดีและได้มาตรฐาน จำหน่ายให้กับสมาชิกและเกษตรกรที่สนใจเพื่อนำไปปลูก จากแนวคิดในการส่งเสริมการปลูกยางพารา สหกรณ์ได้เล็งเห็นว่า  การเพาะปลูกสับปะรดซึ่งเป็นอาชีพหลักของสมาชิกสหกรณ์  และเป็นการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวในปริมาณที่มากมายาวนาน ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ อาทิเช่น ผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ ปัญหาด้านแรงงาน ปัญหาด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่เสื่อมโทรมจากการเพาะปลูกพืชซ้ำแบบเดิมๆ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และรายได้ของสมาชิก และครัวเรือน   การปลูกยางพาราแซมในพื้นที่สับปะรด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สหกรณ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกหันมาปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณผลผลิตสับปะรดที่มาก จนบางช่วงล้นตลาด และการปลูกยางพารายังเป็นการส่งเสริมความสมดุลให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่สับปะรดส่วนใหญ่ไม่มีป่าไม้ยืนต้น จากการส่งเสริมการปลูกยางพารา สหกรณ์ได้ให้การอบรมและความรู้  แก่สมาชิกและเกษตรกรมาโดยตลอด
         
วันที่ 18 สิงหาคม 2553 สหกรณ์ได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  ดำเนินการเปิดตลาด  รองรับผลผลิตยางพาราจากสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ให้จัดตั้งเป็นตลาดกลางในการซื้อขาย  ในลักษณะตลาดประมูล โดยใช้ชื่อว่า  “ตลาดประมูลยางพารา สกย. ประจวบคีรีขันธ์”  ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของสหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จำกัด โดยมีสมาชิกและเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้นำผลผลิตยางเข้าสู่ตลาดรวบรวมและประมูล
         
ปัจจุบัน ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2554 ตลาดแห่งนี้สามารถรวบรวมยางไปแล้วทั้งสิ้น  1,500 ตัน  มูลค่า 172 ล้านบาท และคาดว่าจะเป็นตลาดกลางประมูลของประจวบคีรีขันธ์ ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในอนาคต
         
ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สหกรณ์ได้เข้าไปมีบทบาท  และส่งเสริมการปลูกให้กับสมาชิกและเกษตรกร โดยสหกรณ์ได้ดำเนินการผลิต ต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพมาตรฐานเพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกและเกษตรกร  ตลอดจนการอบรมให้ความรู้  การดูแลรักษาสวนปาล์ม  เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี  และการศึกษาดูงานด้านการผลิตปาล์มน้ำมันจากแหล่งที่สำคัญ  ทั้งในและต่างประเทศ
         
ร้านไพน์แอปเปิ้ลมินิมาร์ท  เปิดให้บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการโดยทั่วไป  ที่เข้ามาใช้บริการจากสหกรณ์  ได้รับความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
ด้านการส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกและเกษตรกร
สหกรณ์ได้มีการจัดตั้งกลุ่มย่อยในด้านการผลิตพืชชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์ของสมาชิกและเกษตรกร  โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวมตัวกันในการผลิตและการจำหน่าย  ซึ่งมีสหกรณ์เป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนในด้านองค์ความรู้  การบริหารจัดการและเงินทุน

1. จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรดแฟร์เทรด  โดยส่งเสริม  การผลิต การแปรรูป  การตลาดสับปะรดอย่างครบวงจร จนได้รับการรับรองมาตรฐานการค้าที่เป็น ธรรมจากองค์กรระหว่างประเทศภาคพื้นยุโรป

2. จัดตั้งและส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาวนาสามร้อยยอด    โดยได้ดำเนินการ   ส่งเสริม   การผลิตข้าวที่ได้คุณภาพ  สนับสนุนปัจจัยการผลิต ดำเนินการจัดตั้งตลาดในการซื้อขายข้าว  รวมถึงการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวนาได้เป็นอย่างดียิ่ง


3. ส่งเสริมด้านการผลิตและการตลาด วิสาหกิจชุมชนปุ๋ยน้ำชีวภาพ  และปุ๋ยหมักตำบลไร่เก่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิก และเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่ดีราคาถูก  ซึ่งผลิตขึ้นเองในชุมชน  โดยการนำเอาหอยเชอร์รี่มาเป็นวัตถุดิบในการหมักปุ๋ย  และยังเป็นการกำจัดหอยเชอร์รี่ซึ่งเป็นศัตรูทำลายข้าว

4. จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อทดแทนพลังงาน จ. ประจวบคีรีขันธ์  เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน  ตลอดจนเป็นการจัดหา ตลาดขายผลผลิตให้กับสมาชิกและเกษตรกร  ให้ได้ราคาที่ดีและคุ้มกับต้นทุนการผลิต

5. จัดตั้งและพัฒนากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชาวสวนยางได้มีการรวมตัวกันในการประกอบอาชีพ  และรวมถึงการพัฒนาในด้านต่างๆ  ตลอดจนการรวมกันที่จะขายผลผลิต

6. จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอ้อยแฟร์เทรด  โดยมีเป้าหมายที่จะแปรรูปอ้อยเป็น น้ำตาล  ทราย   โดยความร่วมมือกับโรงงานอุตสาหกรรม  ในการที่จะขายน้ำตาลทรายที่เป็นผลิตภัณฑ์ของสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานแฟร์เทรด  จากประเทศเยอรมันนี  ไปสู่ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

7. สนับสนุนและดำเนินงานให้กับกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย


ด้านการจัดสวัสดิการต่าง ๆ  ให้กับสมาชิก
เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ  และสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี  ได้จัดสรรกำไรสุทธิในแต่ละปี  รวม  1,400,000  บาทเศษ  เป็นกองทุนสวัสดิการในด้านต่างๆ  ให้แก่สมาชิก  อาทิเช่น  ทุนรับขวัญบุตรแรกเกิด  ทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ  ทุนสวัสดิการการศึกษาบุตร  ทุนสวัสดิการช่วยเหลือเงินกรณีเสียชีวิต  และทุนอื่นๆ ที่จะจัดให้มีขึ้นในอนาคต
 ด้านการมีส่วนร่วมและช่วยเหลือสังคม
สหกรณ์ได้ตระหนักถึงการที่สหกรณ์เป็นส่วนหนึ่งในสังคม  จึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมและสนับสนุน  ในด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ  ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม  อาทิเช่น

- การจัดงานธงฟ้า สินค้าราคาประหยัด ร่วมกับสำนักงานการค้าภายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นช่วยเหลือค่าครองชีพของสมาชิก และคนในชุมชน  ซึ่งมีการจัดงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี  ซึ่งส่งผลให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์อย่างมากมาย

- การมีส่วนร่วมและสนับสนุนการจัดงานมะม่วงและของดีสามร้อยยอด เพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นที่รู้จักของตลาด

- ร่วมและสนับสนุนงานประเพณีท้องถิ่นต่าง ๆ  อาทิเช่น  งานไทยทรงดำ  งานทิ้งกระจาด  หรือการบริจาคทานให้แก่ผู้ยากจน

- เป็นเจ้าภาพในการจัดงานวันสหกรณ์แห่งชาติ ปี 2550 เป็นการรวมขบวนการสหกรณ์ในการร่วมกันในการจัดงาน  เพื่อทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในวันสหกรณ์  และประชาสัมพันธ์ขบวนการสหกรณ์ให้เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก

- บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อเป็นการเอื้ออาทร และแสดงความเห็นอกเห็นใจในกรณีที่ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

- บริจาคเงินทุนการศึกษา  เลี้ยงอาหารกลางวัน  และมอบอุปกรณ์การเรียนและการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางสังคม

ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
สหกรณ์ได้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงในด้านธรรมชาติต่างๆ จึงได้มีการรณรงค์และร่วมทำกิจกรรมในด้านต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับในด้านสิ่งแวดล้อม
    - การปลูกปะการัง  เพื่อคืนธรรมชาติสู่ท้องทะเล
    - อนุรักษ์แหล่งน้ำ  เพื่อการใช้สอยทางด้านการเกษตร
    - การปลูกป่า  เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับธรรมชาติ
    - การรับซื้อคืนขวดบรรจุสารเคมี  เพื่อนำไปใช้บรรจุต่อ  เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะพิษ  และสารเคมีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
   
และนอกจากนี้  สหกรณ์ได้มีการจัดซื้อที่ดิน  ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสำนักงานแห่งนี้  เพิ่มขึ้นอีกจำนวน  22  ไร่เศษ  เพื่อรองรับกับการขยายงานและการดำเนินธุรกิจที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและเกษตรกรในอนาคต






ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้สหกรณ์ก้าวไปข้างหน้า และพัฒนาโดยไม่หยุดยั้งเพื่อให้สมาชิกได้อยู่ดีกินดี  ซึ่งมีคณะกรรมการที่มา จากการเลือกตั้งที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และความเสียสละ  ตลอดจนฝ่ายจัดการที่เข้มแข็ง  นำโดย  นายอานนท์  โลดทนงค์  ผู้จัดการและทีมงาน  พร้อมทั้งสมาชิกทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ  ทำให้สหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด  จำกัด  เติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง    และสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายดังวิสัยทัศน์ของสหกรณ์ที่ว่า
         
“เป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนา  สนับสนุนการผลิตและการตลาด
พืชผลการเกษตรระดับจังหวัด   บริการที่เป็นเลิศและโปร่งใส
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า           ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม”


ที่มา : สหกรณ์ชาวไร่ผู้ปลูกสับปะรดสามร้อยยอด จำกัด

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> โทรคมนาคมโลก ออกกฎใหม่ คลิกเข้าเน็ตทุกครั้งต้องจ่ายตังค์!

โทรคมนาคมโลก ออกกฎใหม่! คลิกเข้าเน็ต-อ่านข้อมูลทุกครั้ง ต้องจ่ายตังค์ ระบุเป็น 1 ใน 15 ข้อสนธิสัญญา ถ้าไม่ลงนามก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่อเน็ตจาก 179 ประเทศ แต่ทั้งนี้ ยังพอมีทางออก หากแสดงจุดยืนที่ชัดเจน เนื่องจากหากมี 25% ของเสียงทั้งหมดไม่เห็นด้วย จะมีการนำสนธิสัญญาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
 
วานนี้ (8 ตุลาคม) นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ที่เป็นองค์กรอิสระซึ่งดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวว่า ในปลายเดือนธันวาคมปี 2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศ จะทำการลงนามสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรืออินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น (Internet Telecommunication Regulation : ITR) ในระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคม ซึ่งทางไอทียูจะจัดขึ้นที่ประเทศดูไบ

ทั้งนี้ นางสาวดวงทิพย์ กล่าวต่อว่า สำหรับเนื้อหาของสนธิสัญญาที่จะใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น มี 10 ประเทศในเอเชียแปซิปิกที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในการแก้เนื้อหาในสนธิสัญญาดังกล่าว ส่วนทางประเทศไทยนั้นไม่มีท่าทีหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

เมื่อถามถึงเนื้อหาของสนธิสัญญาที่ต้องแก้นั้น นางสาวดวงทิพย์ กล่าวว่า จากทั้งหมด 15 ข้อ จะมีเพียง 6 ข้อ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยมีหัวข้อดังนี้...
            1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
            2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด
            3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม
            4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
            5. คุณภาพบริการ
            6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย

นอกจากนี้ นางสาวดวงทิพย์ ยังได้ยกตัวอย่างขอบเขตสนธิสัญญาที่แก้ไขว่า หนึ่งในเรื่องที่ทางไอทียูแก้เนื้อหานั่นก็คือ การใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส ซึ่งระบุว่า ประเทศสมาชิกจะต้องหาวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพื่อคิดค่าบริหารจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ไม่ว่าจะเป็นการความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้ง หรือเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยจะเก็บเงินทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของโทรศัพท์มือถือ

นางสาวดวงทิพย์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลกระทบในการแก้ไขสนธิสัญญาในครั้งนี้คือ เมื่อไหร่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปยังเนื้อหาต่าง ๆ ผู้ใช้งานก็จะถูกเก็บค่าบริการ ซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่โปรโมทสินค้าและห้องพักทางอินเทอร์เน็ตเพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษา ที่จะต้องจ่ายค่าบริหารจากการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ ขณะที่นักเรียน-นักศึกษา ก็จะต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหา

พร้อมกันนี้ นางสาวดวงทิพย์ ยังกล่าวอีกว่า เนื้อหาของสนธิสัญญานั้น ได้เปลี่ยนเป็นบังคับใช้ แทนที่จะเลือกยอมรับเฉพาะกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศตัวเอง โดยให้ทำการลงนามในสนธิสัญญาซึ่งเป็นการผูกมัดการใช้งานทั้ง ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับประเทศของตนเอง

อย่างไรก็ดี เมื่อถามว่าเนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้นั้น ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย และประเทศไทยมีทางออกอย่างไรบ้าง ด้านนางสาวดวงทิพย์ กล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญา จะต้องแสดงออกถึงจุดยืนที่ชัดเจนต่อเนื้อที่ในสนธิสัญญา เนื่องจากระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม 2555 เป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่หากเห็นด้วยทั้งหมด 100% ก็จะบังคับใช้ทันทีสิ้นปีนี้ ดังนั้น ประเทศไทยควรแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ แต่ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญา ก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกไอทียู 

ขณะที่ ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องจ่ายเงินในการคลิกเข้าดูข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกครั้งคงแย่ และจะทำให้เกิดการชะงักในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของทุกคน และที่สำคัญไม่รู้ว่าใครจะต้องเป็นคนที่คิดค่าบริการในการคลิกเข้าดูข้อมูลในแต่ละครั้ง

ส่วนทางด้าน นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องเข้าสู่การจ่ายเงินทุกครั้งที่เข้าดูเนื้อหาออนไลน์และจ่ายเงินทุกครั้งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้น ป.1 นั้น จะเกิดปัญหาตามมาแน่นอน เพราะใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าว ส่วนผู้ประกอบการธุรกิจก็คงจะแบกภาระเรื่องนี้ไม่ไหว และแน่นอนก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้มีอยู่ที่ 24 ล้านคน

ที่มา : NEWS RAMA 2

* อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ เป็นหน่วยงานอินเทอร์เน็ตที่ไม่แสวงหาผลในเชิงพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991 เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการดำเนินการจัดตั้งมาตรฐานด้านอินเทอร์เน็ต ด้านการศึกษา และการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และเมืองเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ โดยเว็บไซต์อยู่ที่ http://www.ISOC.org 

>> สว.ไพบูลย์ล่าชื่อ 80 สว.ยื่น ปธ.วุฒิฯเปิดอภิปรายจำนำข้าว

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2555
408976
"ไพบูลย์ นิติตะวัน" ยื่น 80 รายชื่อ ส.ว. เสนออภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ รัฐบาล กรณีจำนำข้าว ขณะที่ "ร.ต.อ.เฉลิม" เผย ไม่ทราบ คนพูดโกงจำนำข้าว 20% ยัน รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว หากพบโกง นายกฯ สั่งฟันไม่ละเว้น

นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา รวบรวมรายชื่อ 80 ส.ว. ยื่นต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ขอเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ในโครงการรับจำนำข้าวมูลค่า 4.05 แสนล้านบาท เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภา ได้นำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขให้รัฐบาลนำไปปรับปรุง เนื่องจากมีหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายกับงบประมาณที่ใช้ไป

ขณะที่ นายนิคม ระบุว่า จะใช้เวลาในการตรวจสอบรายชื่อประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจะส่งเรื่องให้ นายกรัฐมนตรี พิจารณา กำหนดวันที่จะมาตอบญัตติดังกล่าว ว่าจะเป็นวันใด

วิเชียรยื่น 6 2สว.ชงปธ.วุฒิเปิดอภิปราย ครม.บริหาร ปท.เหลว
นายวิเชียร คันฉ่อง ส.ว.ตรัง รวบรวมรายชื่อ 62 ส.ว. ยื่นหนังสือต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ลงมติ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีชี้แจงปัญหาการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ส่อว่าจะเกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เนื่องจากตลอด 1 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลยังไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้อย่างเต็มที่ แม้จะดำเนินการไปแล้วบ้าง แต่ประสบปัญหาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว ที่มีการทุจริตเกิดขึ้น ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศได้

"เฉลิม" ไม่ทราบ คนพูดโกงจำนำข้าว 20%
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนนั่งเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการรับจำนำข้าวฯ ว่า ตนเองไม่ทราบว่าใครเป็นคนพูดว่าการจำนำข้าวมีการโกงถึงร้อยละ 20 เพราะขณะนั้น เดินทางไปเกาะฮ่องกง ซึ่งหากมีการโกงจริง ก็คงไม่สามารถบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ และขอยืนยันว่า รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว ถ้าหากมีการโกงเกิดขึ้นจริง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้กำชับมาว่าให้ดำเนินการตามกฎหมายไม่มีละเว้น

"แต่ผมไม่ทราบใครให้สัมภาษณ์ เพราะผมไปฮ่องกง หลักการโกงไม่มีใครรู้หรอกว่าโกงกี่เปอร์เซ็นต์ มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

ซึ่งข้อเท็จจริงในวันนี้ การจำนำข้าว ทำให้ชาวนาได้ประโยชน์ร่ำรวยขึ้น แต่ผู้ที่เสียประโยชน์ คือพ่อค้าคนกลาง จึงเป็นเหตุให้พรรคการเมืองใหญ่บางพรรค ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้ หากประเทศไทย อินเดีย และเวียดนาม จับมือกัน ก็จะสามารถเป็นผู้กำหนดราคาข้าวในตลาดโลกได้ ส่วนที่ล่าสุด ประเทศเวียดนาม ขึ้นเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกข้าวแทนประเทศไทยนั้น เห็นว่าเรายังไม่ตกอันดับ เพราะไทยยังไม่ได้เริ่มส่งออก และเห็นว่าการที่อาจารย์ และนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ

ที่มา : INN News

เพิ่มเติม :

นายไพบูลย์ นิติตะวัน  
เกิด 15 มกราคม 2497
คุณวุฒิ : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) ม.ธรรมศาสตร์, นิติศาสตรบัณฑิต ม.สุโขทัยธรรมาธิราช,
ประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 5 สถาบันพระปกเกล้า
สถานที่ติดต่อ : 227/353  ถนนสรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา จังหวัด กรุงเทพมหานคร  10260
อาชีพก่อนได้รับการเลือกตั้ง/สรรหา/แต่งตั้ง : เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประสบการณ์ : ที่ปรึกษาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, ที่ปรึกษาสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน,
ประธานคณะกรรมการการเงินและงบประมาณ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),

นายวิเชียร คันฉ่อง
เกิด : 27 กรกฎาคม 2486
คุณวุฒิ : นิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
การอบรมและสัมมนา : หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ รุ่นที่ 3 จาก ปปร. (สถาบันพระปกเกล้า)
สถานที่ติดต่อ : 105/24 ซอย 13 ถนนรัษฎา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
อาชีพก่อนได้รับการเลือกตั้ง/สรรหา/แต่งตั้ง : เกษตรกร
ประสบการณ์ : สมาชิกสภาเทศบาลเมืองตรัง, สมาชิกสภาจังหวัดตรัง,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง, ทนายความ, ทำสวน

>> "นิติภูมิ" โพสท์ "จำนำข้าว การต่อสู้ทางชนชั้นในไทย !"

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ แสดงความเห็นกรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลว่า การต่อสู้ดังกล่าวเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มพ่อค้านายทุนระดับชาติ ที่เคยได้รับการอุ้มชูผลประโยชน์มาตลอด แต่วันนี้ นโยบายจำนำข้าว ได้เปลี่ยนมาให้ประโยชน์กับ “ชาวนา” ผู้ปลูกข้าวเป็นครั้งแรก จึงเกิดการ “ปะทะกันทางชนชั้น” ที่สมควรต้องทำความเข้าใจและติดตาม โดยมีรายละเอียดข้อความดังนี้

“จำนำข้าว การต่อสู้ทางชนชั้นในไทย”

มีคนถามผมถึงความเห็นส่วนตัวกรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน ผมบอกว่าผมเห็นด้วย ผู้ที่ถามตาเขียวต่อว่าว่า คุณไม่นึกถึงว่าประเทศของเราจะตกต่ำ ส่งออกข้าวได้น้อยลง แต่ก่อนเคยเป็นเจ้าส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลก ตอนนี้ลำดับลดหดถอยลงมาเหลือแค่เป็นลำดับ 3 ของโลกแล้ว ผมเรียนว่า กรุณาอย่าสับสนระหว่างเรื่องคุณภาพกับปริมาณ

ความขัดแย้งที่เป็นประเด็นในสังคมไทยเรื่องจำนำข้าวนี่เป็นประเด็นของการต่อสู้ทางชนชั้นนะครับ เป็นเรื่องที่ชนชั้นนายทุนใหญ่ นายทุนนายหน้า และนายทุนขุนนาง ทนไม่ได้ ที่รัฐหันไปให้ประโยชน์แก่ชนชั้นชาวนา เพราะตั้งแต่ไหนแต่ใดมา นายทุนขุนนางซึ่งอาศัยอำนาจรัฐบาลมาผูกขาดการค้า กุมกิจการสินค้าเข้าสินค้าออก และควบคุมอุตสาหกรรม สร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้ผู้คนชนชั้นของตนเองแต่ฝ่ายเดียว ไม่เคยมีรัฐบาลไหนแลเหลียวชาวนาพวกต่างๆ ไม่ว่าจะชาวนารวย ชาวนากลาง ชาวนาจน หรือแม้แต่ชาวนารับจ้าง

วันดีคืนดี มีรัฐบาลเพื่อไทยที่เห็นใจชาวนาและชนชั้นกรรมาชีพ หันมาใส่ใจในชีวิตความเป็นอยู่ พร้อมกับมุ่งมั่นตั้งใจให้สถานะของผู้คนชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีดดีขึ้น พวกนายทุนใหญ่ย่อมทนไม่ไหว ส่งสัญญาณให้มีการปฏิวัติรัฐประหารและทำลายรัฐบาลที่เห็นใจชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีดนั้น โชคยังดีที่คนผู้โดนปฏิวัติรัฐประหารเป็นพวกสู้ไม่ถอย ค่อยๆ ทยอยกลับมาสู่อำนาจรัฐ เมื่อได้อำนาจคืนมาแล้ว ก็เจือจุนดูแลผู้คนชนชั้นผู้ที่ถูกกดขี่ขูดรีดเหมือนสมัยก่อนปฏิวัติ

วิธีการปฏิวัติใช้ไม่ได้ผล ฝ่ายเจ้าที่ดิน นายทุนขุนนาง นายทุน นายหน้า ฯลฯ ที่เคยใช้อำนาจรัฐสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับฝ่ายตน ก็วางแผนใหม่ให้นักวิชาการและสื่อมวลชน ดาหน้าออกมาถล่มรัฐบาลแทนทหาร เพราะหากปล่อยให้ชาวนาลืมตาอ้าปากได้ ฝ่ายของตนจะตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบไปอีกนานแสนนาน และที่เสียหายมากที่สุด ฝ่ายของตนอาจจะสูญสิ้นอำนาจวาสนาในประเทศไปเลยทีเดียว

ละครที่ท่านเห็นเล่นกันอยู่บนเวทีนั้น โดยแท้ที่จริง เป็นละครเรื่องเก่า ที่ถูกนำมาเล่า ถูกนำมาแสดงกันแล้วในมากมายหลายประเทศ เป็นเรื่องที่ฝ่ายอำนาจเดิมต้องออกมาสกัดชาวนาที่ขณะนี้กำลังกลายเป็นประชาชนของชาติก้าวหน้า หรือเป็นมวลชนปฏิวัติ อิทธิพลของสื่อสารมวลชนเสรี ทำให้ชาวนาเหล่านี้มีความคิดทางการเมืองประชาธิปไตยแท้จริง มีสติปัญญาที่จะพัฒนาพวกตนขึ้นเป็นมวลชนชาวนาจัดตั้งที่ศึกษาจริง ทำงานจริง และต่อสู้จริง สิ่งต่างๆ อย่างนี้นี่แหละครับ ที่ทำให้ฝ่ายนายทุนนายหน้า และนายทุนขุนนาง แขยงแขยงขน เพราะแม้ฝ่ายตนจะใช้กำลังทหารเข้าประหัตประหารแล้วหลายครั้ง ทว่า ชาวนาเหล่านี้ยังยืนอยู่ได้ในสังคม

ประวัติศาสตร์ของหลายชาติรัฐ ความสำเร็จในการล้มคว่ำอำนาจเดิมเริ่มมาจากชาวนา เพราะชาวนาเป็นกำลังหลวง ชาวนาเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ เป็นกองพลาธิการที่ใหญ่ที่สุดของการปฏิวัติ ชาวนามีปริมณฑลกว้างขวางที่สุด เป็นเงื่อนไขที่ทหารของนายทุนนายหน้า และนายทุนขุนนางกำจัดไม่ได้ เพราะชาวนาอยู่กระจัดพลัดพรายในชนบท ไม่รวมศูนย์ หากชาวนามุ่งมั่น บั้นปลายท้ายที่สุดของการต่อสู้ ชาวนาก็สามารถประสบชัยชนะ

วันนี้ จึงมีเสียงโอดโอยโหยหวนของนักวิชาการและสื่อสารมวลชนที่บากหน้าออกมาเป็นตัวแทนของทุนผูกขาดที่เคยกุมกลไกของรัฐมาชั่วนาตาปี ผู้อ่านท่านลองหลับตาจินตนาการ หรือลองลากปากกาเชื่อมโยงผู้คนที่ออกมาต่อต้านดูเถิด แต่ละท่านเชื่อมโยงกับทุนอุตสาหกรรมที่ผนวกบวกกับทุนธนาคาร ซึ่งสองทุนนี่รวมกันเป็นทุนขุนคลังขนาดใหญ่ทั้งนั้น

ถ้าจะให้ราชอาณาจักรไทยไปรอด ผู้ที่กุมอำนาจรัฐต้องใส่ใจในความเป็นอยู่ของปัญญาชน นักเรียน นักศึกษาวัยหนุ่มสาว ต้องให้โอกาสพ่อค้าย่อยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน (พ่อค้าย่อยที่ตั้งร้านเล็กๆ ไม่จ้างลูกจ้าง หรือถ้าจ้างก็จ้างเพียงจำนวนน้อย) รัฐต้องทุ่มเทพัฒนาศักยภาพของหัตถกร (พวกที่มีปัจจัยการผลิตของตนเอง ไม่มีลูกจ้าง หรือถ้ามี ก็มีเพียงลูกศิษย์ฝึกงาน ท่านเหล่านี้มีสถานะเท่ากับชาวนากลาง ซึ่งมีที่ดิน มีเครื่องมือการผลิตและทุนหมุนเวียน แต่ใช้แรงงานตนเอง และมีฐานะอยู่ในระดับพอกินพอใช้) อีกพวกหนึ่งที่รัฐพึงต้องให้การสนับสนุนอย่างมาก ก็คือ พนักงานผู้น้อย ทั้งพนักงานผู้น้อยในองค์การของรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ที่ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการขายแรงงานทางสมองหรือเทคนิค

ไทยเป็นราชอาณาจักรที่มีสถานะทางการเมืองที่แปลก รัฐบาลมาจากการสนับสนุนของผู้คนชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีด แต่รัฐบาลดันยอมให้ในประเทศยังมีอำนาจของนายทุนนายหน้า และนายทุนขุนนาง
ยังต้องต่อสู้กันอีกหลายยกครับ

เรื่องจำนำข้าวนี่เป็นการต่อสู้ระดับเบเบี้เท่านั้น.

ที่มา : นิติภูมิ นวรัตน์

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> ความสนใจใน ASEAN Community ของประเทศต่างๆ


ผลจากการเข้าดูหน้าเฟซบุ๊ค ของ ASEAN Community

TOP 20 VIEWERS OF ASEAN COMMUNITY PAGE

1. 311,856 Philippines
2. 190,432 Thailand
3. 81,896 Cambodia
4. 78,306 Myanmar
5. 39,129 United States of America
6. 25,447 Malaysia
7. 19,896 Singapore
8. 17,929 Indonesia
9. 12,589 Laos
10. 11,695 Vietnam
11. 11,683 Saudi Arabia
12. 10,456 United Arab Emirates
13. 9,184 Canada
14. 9,140 India
15. 7,629 Japan
16. 7,342 Australia
17. 7,087 United Kingdom
18. 5,507 Taiwan
19. 4,563 South Korea
20. 4,434 Italy

ที่่มา : ASEAN Community

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> ไมล์สโตน "เจียไต๋" หมดยุคเน้นสร้าง เข้าสู่ยุคเน้นหา

updated: 04 ต.ค. 2555 เวลา 16:00:40 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เป็นความน่าสนใจอย่างยิ่งที่บริษัท เจียไต๋ จำกัด อันเป็นบริษัทผู้บุกเบิกธุรกิจเมล็ดพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2464 บริเวณย่านทรงวาด ด้วยการทำธุรกิจนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน จนเป็นที่ยอมรับในเรื่องคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ที่ขณะนี้ไม่เพียงขยายธุรกิจเข้าสู่เกษตรกรรมแบบครบวงจร อาทิ ปุ๋ย, ผลิตภัณฑ์อารักขาพืช, อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะปลูก ตลอดจนธุรกิจผักผลไม้สด จนถึงวันนี้เจียไต๋ก้าวสู่การเป็นเกษตรกรรมแบบครบวงจร ที่พร้อมจะร่วมสร้างความเจริญให้กับวงการเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่นยืนในอนาคต

อันเป็นไมล์สโตนที่ "เจียไต๋" วางแผนที่จะก้าวข้ามไปสู่ธุรกิจแห่งโลกยุคไร้พรมแดน ที่พร้อมเผชิญกับปัจจัยความท้าทายในการบริหารธุรกิจหลายอย่าง ทั้งเงินทุนและวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจข้ามชาติ รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์การจัดการบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดสรรค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรมสำหรับลูกจ้างและพนักงาน โดยมี บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด นั่งเป็นที่ปรึกษา

เบื้องต้น "มนัส เจียรวนนท์" ประธานคณะผู้ปฏิบัติการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า ทางเจียไต๋ร่วมงานกับทาวเวอร์สฯ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี ถือว่าเป็น 4 ปีแห่งการผลักดันการบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

"โดยทาวเวอร์สฯ เป็นผู้ให้คำแนะนำในการบริหารองค์กร สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การจัดการคนเก่ง การให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจของเจียไต๋ ด้วยการประสานความร่วมมือของทาวเวอร์สฯ จนทำให้เราเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจระดับสากลต่อไป"

แต่กระนั้นก็มีคำถามตามมาว่า 

เจียไต๋เป็นธุรกิจครอบครัว เป็นธุรกิจแรกของซีพี กรุ๊ป แต่ทำไมถึงต้องมาใช้กลยุทธ์ HR-Transformation เพื่อให้องค์กรของตัวเองเปลี่ยนแปลงไปในระดับสากล

พนักงานในองค์กรจะยอมรับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้หรือไม่ ?

และจะมีวิธีขับเคลื่อนคนในองค์กรอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย ?

"พิชญ์พจี สายเชื้อ" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ถามคำถามคาใจเหล่านี้กับ "มนัส" และเขาได้ตอบว่า...แรก ๆ พนักงานมีคำถามเหมือนกันว่า บริษัทที่ปรึกษาเข้ามาจะเกิด effect อะไรกับเขาบ้าง ผมต้องอธิบายมากมาย แต่อธิบายอย่างไรเขาก็ไม่เชื่อ

"เพราะองค์กรเราเก่าแก่อายุ 91 ปี มีพนักงาน 600 กว่าคน และพนักงานส่วนหนึ่งอายุงานเยอะ เขามีความกังวล และมีความเครียดในเบื้องต้นว่าเขาจะอยู่ต่อไปอย่างไร เงินเดือนจะเป็นอย่างไรบ้าง เพราะที่ผ่านมาเราใช้วิธีให้เกรด"

"เขาจึงไม่เชื่อในสิ่งที่ผมพูด แต่โดยส่วนตัวผมไม่กังวลเลย ผมรู้ดีว่าผมอยากทำอะไร ผมเป็นเจเนอเรชั่นที่ 2 คุณพ่อผมเป็นผู้ก่อตั้งจากเมืองจีน และตอนนี้เจเนอเรชั่น 3 กำลังจะตามมา ผมกลัวเขาจะบอกว่ารุ่นที่ผ่านมาทำงานไม่ได้เรื่องเลย"

ถึงตรงนี้ "พิชญ์พจี" จึงเสริม "มนัส" ว่า คุณมนัสเลือกที่จะสื่อสารเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและเขาก็บอกกับพนักงานด้วยความจริงใจว่า นี่คือสิ่งที่บริษัทอยากทำ และการทำครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อตัวเขา แต่เพื่อองค์กรและพนักงานทุกคน

"มนัส" จึงเสริมบ้างว่า คนที่ทำงานเขาไม่กังวลหรอก แต่คนที่ล้ำเส้นอาจจะมีความกังวลบ้าง แต่ส่วนตัวผมเชื่อว่าการที่ทาวเวอร์สฯเข้ามาทำให้ win-win ทั้งคู่

"พิชญ์พจี" จึงถามต่อว่า แล้วอะไรเป็นความท้าทายหลัก ?

"ผมว่าสิ่งที่ท้าทายคือ เราจะจูนอย่างไรที่จะทำให้พนักงานในบริษัทกับคอนซัลต์เข้าใจตรงกัน ผมยอมรับนะครับว่าเจียไต๋มีคอนซัลต์เยอะ แต่เป็นทางด้านธุรกิจ แต่สำหรับเรื่อง HR เราให้ทาวเวอร์สฯเข้ามาช่วยให้ทุกอย่างเดินได้ดี เกิด relationship มากขึ้น ผมจึงเชื่อว่าเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราจึงต้องทำต่อไป เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเจียไต๋มีตำแหน่งเยอะ บางตำแหน่งสูงเกินกว่ากล่องซะอีก"

แล้วผู้บริหารระดับสูงมีความเห็นอย่างไรบ้าง-พิชญ์พจีถามต่อ ?

"พี่ชายผม (มนู เจียรวนนท์) สนิทกันตั้งแต่เด็ก เขากับผมต้องพูดว่าไม่เหมือนกันเลย เหมือนหยินกับหยาง เพราะพี่ชายผมเขาจะลงรายละเอียด แต่ผมชอบไปหาปัญหาเข้ามาทำ ผมว่าตรงนี้เป็น challenge ที่ทำให้ผมกับพี่ชายคุยกันรู้เรื่อง และทำให้เขาเห็นว่าคอนซัลต์เป็นเรื่องสำคัญ เขาจึงพร้อมสนับสนุน เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่เดินมาจนถึงวันนี้จนเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว"

นอกจากนั้น "มนัส" ยังชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ว่า...ผมเห็น position ชัดขึ้น และเห็น career ของพนักงานชัดขึ้น ผมเชื่อว่าเมื่อเราสื่อสารออกไป พนักงานรับรู้ได้

"ทำให้เรารู้ talent ของเรา เพราะธุรกิจครอบครัวอาจมีอุปสรรค แต่พอเราคุยกับ HR บอกเขาว่าต่อไปคุณต้องรับคนให้ดี เอาให้อยู่ และพัฒนาเขา เงินเดือน, career, loyalty องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้พนักงานอยู่กับเรา เหมือนอย่างตอนนี้เรามี talent อยู่ระดับหนึ่ง เราต้องสร้างเขา รักษาเขา และต้องมีแพลนอย่างต่อเนื่อง"

"ผมเชื่อว่าวิธีรักษา talent ของเรามี 3 อย่าง ประการแรก ต้องมี career path อย่างชัดเจนว่าเขาจะเติบโตไปได้ไกลแค่ไหน ประการที่สอง เขาจะต้องมีความเป็นผู้นำ และประการที่สาม เขาจะต้องมี skill coach เพราะเราดูแลเขาเหมือนญาติ เมื่อก่อนเราดูว่า talent ขาดอะไร เราจะสนับสนุนเขา ทั้งส่งไปเรียน ไปอบรมพัฒนา แต่ยังไม่ถึงดวงดาว เราจึงต้องสนับสนุนเขาต่อไป"

ดังนั้น การที่บริษัท ทาวเวอร์ส วัทสัน (ประเทศไทย) จำกัด ก้าวเข้ามาเป็นพันธมิตร และพร้อมที่จะช่วยผลักดันให้บริษัท เจียไต๋ จำกัด เป็นองค์กรของมืออาชีพ "มนัส" จึงเชื่อว่าเมื่อเราสร้างทีมให้มีความสามารถในการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแล้ว

สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือการ health check organization และจะต้องมีการทำงานอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ และไม่เฉพาะวิสัยทัศน์เฉพาะหน้าเท่านั้น แต่จะต้องกำหนดเป็นแผนระยะยาว 1-2-3-4ถึงจะทำให้ "เจียไต๋" เป็นองค์กรแห่งมืออาชีพ เพราะที่ผ่านมากลยุทธ์ของเจียไต๋เน้นสร้าง แต่ต่อไปกลยุทธ์ของเจียไต๋จะต้องเน้นหาแล้วเน้นหาวิธีในการสร้างคนเน้นหาคนเพื่อเข้าสู่ระบบ

ถึงจะทำให้เจียไต๋ก้าวสู่องค์กรธุรกิจในโลกไร้พรมแดน ?