วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

>> โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556

ประกาศแล้วโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556 เกษตรกรสามารถจำนำข้าวนาปรังได้ และสหกรณ์การเกษตรบ้านตาก ยังคงเป็นจุดรับจำนำเหมือนปีที่แล้ว
จังหวัดตากได้ประกาศโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/2556 โดยให้ อคส.และ อ.ต.ก. รับจำนำข้าวเปลือกและออกใบประทวนให้กับเกษตรกร และให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้รับจำนำข้าวเปลือกและจ่ายเงินให้กับเกษตรกร ทั้งนี้มีระยะเวลารับจำนำตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง วันที่ 15 กันยายน 2556 มีรายละเอียดดังนี้

1. เกษตรกรสามารถจำนำข้าวเปลือกได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้งต่อแปลงต่อคน ไม่จำกัดว่าจะเป็นข้าวนาปีหรือข้าวนาปรัง
ชนิดข้าวและราคารับจำนำข้าวเปลือกความชื้นไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์
ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)  ราคารับจำนำ 20,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม)  ราคารับจำนำ 18,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม)  ราคารับจำนำ 16,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ราคารับจำนำ 16,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น  ราคารับจำนำ 15,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า 100%  ราคารับจำนำ 15,000.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า 5%  ราคารับจำนำ 14,800.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า 10%  ราคารับจำนำ 14,600.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า 15%  ราคารับจำนำ 14,200.-บาทต่อตัน
ข้าวเปลือกเจ้า 25%  ราคารับจำนำ 13,800.-บาทต่อตัน
ราคารับจำนำนี้ให้ปรับเพิ่ม-ลด ตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200.-บาท

2. ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลารับจำนำ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556
ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 มกราคม 2557

3. เกษตรกรผู้มีสิทธิ์จำนำข้าวเปลือก
มีหนังสือรับรองเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร
มีบัญชีเงินฝากที่ ธ.ก.ส.
เป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูกเองในปีการเพาะปลูก 2555/2556 และเกษตรกรต้องนำข้าวเปลือกมาจำนำด้วยตนเอง

4. การรับจำนำ
การรับจำนำใบประทวน ให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ข้าวเปลือกปทุทธานี 1 ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว
การรับจำนำข้าวเปลือกในยุ้งฉางของเกษตรกร ให้ ธ.ก.ส. รับจำนำได้เฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียวเท่านั้น

5. พื้นที่รับจำนำ
เกษตรกรสามารถจำนำข้าวเปลือกได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดของตนเองเท่านั้น ยกเว้นพื้นที่ตำบลที่ติดต่อกันของเกษตรกรและเป็นจุดรับจำนำ
การจำนำข้าวเปลือกข้ามเขตจังหวัดของเกษตรกร หากจำเป็นให้คณะอนุกรรมการฯ ระดับจังหวัด เป็นผู้พิจารณา
การจำนำข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร สามารถทำได้ โดยให้สถาบันเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร อำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ให้คิดค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการจากเกษตรกรได้ไม่เกินตันละ 200.-บาท  และให้ อคส.หรือ อ.ต.ก. ออกใบประทวนให้แก่เกษตรกรแต่ละราย เพื่อนำไปทำสัญญากับ ธ.ก.ส. แล้วโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเกษตรกรแต่ละรายเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์

6. การนำข้าวเปลือกของผู้อื่นมาสวมสิทธิ์จำนำ
กรณีนำข้าวเปลือกของบุคคลอื่นมาสวมสิทธิ์เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก มีความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000.-บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะถูกขึ้นชื่อไม่ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือจากโครงการของรัฐบาลอีกต่อไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 เมษายน 2556 เวลา 08:17

    เมื่อไหร่ใบประทวนอำเภอเวียงเชียงรุ้งจังหวัดเชียงรายจะออกสักที ข้าวจะเก็บเกี่ยวแล้ว

    ตอบลบ