เมื่อวันที่ 24 พ.ค.55 ได้มีโอกาสนั่งรถไปร่วมพิธีเปิด "แสนเจริญ แมนชั่น" ของ "หมอธีระ" ปศุสัตว์จังหวัดตาก ที่ อ.แม่สอด รถตู้ที่นั่งไปนั้นเป็นรถตู้ของ "เชียงใหม่ เฟรชมิลค์" ที่ได้กรุณามารอผมอยู่ที่ด้านหลังของสำนักงาน (ผมสายเสมอ จนพี่สบเกษม แหงมงาม แห่ง นสพ.ปิงเมย โทรตาม !) บนรถตูู้นอกจากมีผม "แปีะ" ผจก.สกก.เมืองตาก "พิเชษฐ์" ผจก.สกก.ปฏิรูปที่ดินวังเจ้า ยังมี "คุณบัลลพ์กุล ทิพย์เนตร" แห่งเชียงใหม่ เฟรชมิลค์ "คุณชนินทร์ ทรงเมฆ" แห่ง SK Interfood เจ้าของหมูเอสเคแห่งเมืองตาก มาตรฐานส่งออก "หมอนาจ..อำนาจ หมีโชติ สัตวแพทย์ชำนาญงาน กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สนง.ปศุสัตว์จังหวัดตาก"
นั่งรถทางไกลบนเขาสูง ท่ามกลางความหวังในการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ถนนที่กว้างขึ้น ตรงขึ้นกว่าเดิม อุโมงค์ลอดภูเขา ถนนลอยฟ้าข้ามเขาแต่ละลูก ท่าเรือทวาย AEC ฯลฯ คงไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งคุยกันไป แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไป ความจริงก็เคยเจอกันหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ค่อยได้คุยกันนานๆ แบบสบายๆ เจอกันแต่ในงาน เรื่องงาน เรื่องโคเนื้อ เลิกงานแล้วต่างคนก็ต่างรีบไปงานอื่นต่อ
ถึงตลาดดอยมูเซอ 2 "เป่า..ชนินทร์ ทรงเมฆ" ชวนแวะกินกาแฟมูเซอ ตราคนแบกตะกร้า(เป๊อะของชาวเขา) ของ "จะพือ" ผู้ใหญ่จักรพงษ์ ผู้ริเริ่มก่อตั้งสหกรณ์การเกษตรห้วยปลาดหลด จำกัด ("เป่า..ชนินทร์ ทรงเมฆ" "แป๊ะ..นคร สงวนสุข ผจก.สกก.เมืองตาก "หมอนาจ..อำนาจ หมีโชติ และ "จะพือ..ผู้ใหญ่จักรพงษ์ มงคลคีรี" เป็นเพื่อนโรงเรียนตากพิทยาคมรุ่นเดียวกัน) อากาศเย็นสบายแตกต่างกับอากาศในตัวเมืองตากอย่างคนละโลกกัน
ตลอดทางทั้งไปและกลับ จากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบสบายๆ ทำให้ผมได้รับรู้ เรียนรู้ วิธีคิด ที่มาของความคิด และกลยุทธ์การทำธุรกิจในภาคเอกชน การส่งเสริมธุรกิจภาคเอกชนจาก BOI ทำให้อยากรู้ว่า BOI คิดอย่างไร ทำอย่างไรในการส่งเสริมธุรกิจภาคเอกชน มีหลากหลายความคิดที่ทำให้ผมต้องนำกลับมาคิดต่อ แล้วมองมาที่การส่งเสริมสหกรณ์จากภาครัฐ
แน่นอนครับ ผมเพียงแค่จุดประกายให้เพื่อนพ้องน้องพี่ในสหกรณ์ลองไปคิดต่อกับงานของสหกรณ์ ลองค้นดูในเว็บไซท์ของ BOI ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรแล้วน้ำมาเสนอกับพวกเราให้ค้นคว้าและคิดต่อ
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไขของกิจการที่จะให้การส่งเสริมการลงทุน
2. ให้ประเภทกิจการตามที่กำหนดไว้ในบัญชีประเภทกิจการท้ายประกาศนี้เป็นกิจการ ที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
3. ให้กำหนดขนาดการลงทุนของแต่ละโครงการขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) สำหรับทุกประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน
4. ให้กำหนดเงื่อนไขสำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามที่กำหนดใน แต่ละประเภทกิจการนั้น
5. สิทธิและประโยชน์สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้เป็นไปตาม ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ.2543 เรื่องนโยบาย และหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน เว้นแต่ที่มีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีท้ายประกาศนี้
6. สำหรับกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ดังต่อไปนี้
6.1 ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
6.2 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
6.3 สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543
7. สำหรับกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษให้ได้รับ สิทธิและประโยชน์ดังต่อไปนี้
7.1 ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
7.2 ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่ใน เขตใด โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
7.3 สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามหลักเกณฑ์ประกาศคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543
8. สำหรับกิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 4/2549 ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2549 เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
9. คณะกรรมการอาจประกาศงดให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ปรากฏในบัญชี ท้ายประกาศนี้ เมื่อเห็นว่ากิจการนั้นหมดความจำเป็นที่จะให้การส่งเสริมการลงทุนต่อไป หรือ อาจประกาศเพิ่มเติมประเภทกิจการใดๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้การส่งเสริมขึ้นอีก ก็ได้ แม้กิจการนั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ก็ตาม
10. ประกาศนี้มีผลใช้บังคับสำหรับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
11. โครงการที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมหรือได้รับการส่งเสริมการลงทุนก่อนวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 ทุกประเภทกิจการ หากยังไม่ได้ใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ก่อน วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 จะขอเปลี่ยนประเภทกิจการตามที่กำหนดใหม่ และปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กำหนดใหม่ในประเภทกิจการนั้นๆ ก็ได้ โดยให้ยื่นขอต่อสำนักงานภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
12. บรรดาประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนทุกฉบับที่อ้างถึงประกาศคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เรื่อง ประเภท ขนาด และเงื่อนไข ของกิจการที่จะให้การส่งเสริมการลงทุน ให้ถือว่าเป็นการอ้างถึงประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน (ข้อมูลปรับปรุงล่าสุดเมื่อ กุมภาพันธ์ 2554)
หมวด 1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
หมวด 2 เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
หมวด 3 อุตสาหกรรมเบา
หมวด 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
หมวด 5 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
หมวด 6 เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก
หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค
นอกจากนี้ยังมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนธุรกิจ กิจการที่เกี่ยวข้องอีกดังนี้
กองทุน FTA นี้เคยได้รับคำแนะนำจาก คุณสิทธิพร บูรณนัฐ ผู้จัดการสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน แต่จนบัดนี้ผมยังไม่ได้ผมยังไม่ได้ลงมือทำอะไรสักอย่างเลย
ข่าวที่เกี่ยวข้องกับกองทุน FTA
เขาบอกว่าเวลาคิดฝัน ให้คิดฝันแบบเด็กๆ......ที่ดูแล้วมันเป็นไปไม่ได้.......แต่เวลาลงมือทำ....ให้ทำแบบผู้ใหญ่.......บัลลพ์กุล ทิพย์เนตร เชียงใหม่เฟรชมิลค์ บ้านโฮ่ง ลำพูน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น