วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

>> จำนวนบัญชีเงินฝากในธนาคาร 1% มีเงินฝากรวมกันถึง 70% ของประเทศ

นั่งอ่านซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า รวมทั้งการลิ้งก์ไปหาดูเรื่องที่เกี่ยวข้อง เออ ! เรานั่งอยู่ตรงนี้มองไม่ออกแน่ ก็แค่คนเอาเงินไปฝากไว้ที่ธนาคาร เราไม่รู้ใครฝากมาก ฝากน้อย ฝากระยะสั้นๆ ฝากแช่นานๆ เราไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบเลย จึงตัดสินใจรวบรวม นำมาเสนอให้พวกเราลองดูกัน แล้วช่วยเอาไปคิดต่อกับสภาพการฝากเงินในสหกรณ์การเกษตร ที่ต้องดิ้นรนหาเงินฝากกันเอง คิดกันเอง บริหารกันเอง รับผิดชอบในเงินนั้นกันเอง......

1% ของบัญชีมีเงินเก็บ 70% ของประเทศ
จาก : ประเทศไทยอยู่ตรงไหน

จากตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งกสิกรไทยไปหยิบมาทำเป็นรายงานอีกที) พบว่า

จากบัญชีเงินฝากทั้งหมดในระบบ 79 ล้านบัญชี

98.83% เป็นบัญชีที่มีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้านบาท
1.16% เป็นบัญชีที่มีเงินฝากระหว่าง 1-50 ล้านบาท
0.01% เป็นบัญชีที่มีเงินฝาก 50 ล้านบาท ขึ้นไป

บัญชีในกลุ่มแรก (ต่ำกว่า 1 ล้านบาท) คิดเป็นเงิน 31.15% ในระบบ
ขณะที่บัญชีในกลุ่มหลัง (เกิน 50 ล้านบาท) คิดเป็นเงิน 19.97% ในระบบ

นั่นแปลว่า

หากคุณมีบัญชีเงินฝากต่ำกว่า 1 ล้าน แปลว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของคนกว่า 98% ในประเทศนี้

แต่หากคุณมีบัญชีต่ำกว่า 5 ล้าน แปลว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของคนกว่า 99.9% ในประเทศนี้

และถ้าเจ้าของบัญชี 7,685 บัญชี  (0.01%) พร้อมใจกันถอนเงินออกทั้งหมด จะทำให้เงินฝากในระบบธนาคารหายไปทันทีเกือบ 20% (1.34 ล้านล้านบาท)

และบัญชีเงินฝากจำนวน 1% มีเงินฝากรวมกันถึง 70% ของประเทศ

ตัวเลขนี้เป็นเพียงตัวเลขหยาบๆที่แสดงโครงสร้าง “การกระจายความรวย” ของคนไทย เพราะยังมีสินทรัพย์อื่นๆอีกมากที่ไม่ใช่เงินฝาก เช่น หุ้น ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ทองคำ ฯลฯ และข้อมูลนี้ก็ไม่ได้แสดงจำนวน “เจ้าของบัญชี” เพราะคนหนึ่งคน มักมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : การกระจายรายได้

คนรวยสุด 20% ในเมืองไทยมีรายได้มากกว่าคนจนสุด 20% อยู่ 15 เท่า

หากจะวัดกันจริงๆ แล้วการกระจายรายได้วัดได้ด้วยค่า Gini (สมการใน http://en.wikipedia.org/wiki/Gini_coefficient) ซึ่งมีแผนที่อยู่ที่

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_income_equality

สังเกตว่าอันดับความไม่เท่าเทียมให้ผลต่างกันในแต่ละนิยาม เช่น ในภาพด้านบนไทยแย่กว่าจีน (53.6 vs. 41.5) แต่หากวัด Gini index จีนแย่กว่าไทย (UN Gini ใน link ด้านบน 42 vs. 46.9 - แม้แต่ Gini ที่วัดจากคนละชุดข้อมูลก็ได้ค่าไม่เท่ากัน) ทำให้เห็นว่าค่าพวกนี้ไม่ได้เป๊ะๆ และมีความคลาดเคลื่อนเชิงระบบราว 10%

ข้อมูล - http://www.economist.com/node/18587127

Gini coefficient นี้ไม่ได้ใช้แต่ในทางเศรษฐศาสตร์และสังคม แต่มีการเอาไปใช้ในทางดาราศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ว่ากาแล็กซีที่อยู่ไกลมากๆ (ไกลจนขยายให้เห็นชัดๆ ไม่ได้) มีลักษณะแบบไหน เป็นจานสมมาตรแบบทางช้างเผือก หรือที่เห็นเป็นจุดนั้นจริงๆ กำลังเป็นกาแล็กซีสองดวงกำลังชนและรวมตัวเป็นดวงเดียวอยู่

นอกจาก Gini coefficient แล้ว ของฝากจากเศรษฐศาสตร์ที่ไปอยู่ในดาราศาสตร์อีกอย่างที่นึกได้ คือ ฟังก์ชั่นการกระจายแบบพาเรโต (http://en.wikipedia.org/wiki/Pareto_distribution) ที่โมเดลการกระจายของความร่ำรวยในสังคม (e.g. 20% of the population controls 80% of the wealth) นั้นเป็นฟังก็ชั่นที่ใช้โมเดลการกระจายของกำลังส่องสว่างของกาแล็กซีในจักรวาลได้ด้วย (galaxy luminosity function) ทำให้เห็นว่าหลายปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่ไม่ได้เกี่ยวกันอาจสามารถอธิบายได้ด้วยรูปสมการเดียวกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น