
Over Man ไม่ยึดติดอะไรมากนัก, พยายามจะไม่ให้คนเชื่อในระบบศีลธรรม เพราะว่าศีลธรรมก็เป็นเพียงการตีความ มันไม่จริงมันไม่มีจริง หรือมันไม่ได้ถูกต้องไปกว่าระบบอื่นๆ
อภิมนุษย์ คือคนที่กำหนดค่านิยมของตนขึ้นมาเองโดยไม่ยอมรับตามสิ่งที่สังคมยัดเยียดให้ ไม่ใช่การเป็นผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น

พจนาซาราทุสตรา (Thus Spoke Zarathustra)
ฟรีดริช วิลเฮล์ม นีทเชอ นักปรัชญาผู้มีเชื้อสายของหมอสอนศาสนานิกายลูเธอรันและสืบเชื้อสายตระกูลขุนนางโปแลนด์ เขาเกิดเมื่อกลางศตวรรษที่ 19 คำกล่าวสำคัญของเขาก็คือ พระเจ้าตายแล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้เขา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักปรัชญาผู้อื้อฉาว หรือกบฏในทางปรัชญา ทั้งยังเป็นนักปราชญ์ผู้เขียนหนังสือปรัชญาด้วยภาษากวีนิพนธ์ งานสำคัญของเขาคือ พจนาซาราทุสตรา(Thus Spoke Zarathustra) จนทำให้เขามีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วโลก จนมีผู้นำแนวความคิดไปใช้และวิเคราะห์ต่ออย่างมากมายสำหรับคนไทยแล้ว นีทเชอ มีความน่าสนใจในด้านทัศนะและแนวคิด ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะช่วยเสริม ความเข้าใจต่อ นีทเชอ ให้ผู้อ่านทราบในหลายๆ ด้านและมองงานของเขาในหลายแง่หลายมุมมากขึ้น

๑) ระดับทาส มนุษย์ในระดับนี้จะไม่เป็นตัวของตัวเองเพราะกลัวความรับผิดชอบ ไม่กล้ามีความคิดของตัวเอง จึงนิยมเดินตามอุดมการณ์ที่คนส่วนมากยอมรับ ไม่กล้าทำอะไรผิดแผกไปจากผู้อื่นเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คนประเภทนี้ส่วนมากคิดว่าการถือตาม ศีลธรรมแบบทาส (slave morality) เช่นนี้เป็นวิธีที่ได้เปรียบที่สุดแล้ว เพราะปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องคิดและไม่ต้องรับผิดชอบ เพียงแต่ยอมให้เกียรติคนบางคนที่มีอำนาจเหนือตนก็พอแล้ว นีทเชอ ถือว่าพวกนี้คิดสั้น คิดว่าการกระทำเช่นนี้เป็นความฉลาด แต่นั่นหาใช่อุดมการณ์ของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่
๒) ระดับนาย มนุษย์ระดับนี้กล้าเสียและกล้าเสี่ยงเพื่อความเป็นใหญ่เหนือคนอื่น เขาจะทำอะไรตามใจ โดยถือคติว่าตายเสียดีกว่ายอมจำนน เมื่อเขากล้าเสี่ยงเช่นนี้ มนุษย์ระดับทาสก็จะเกรงกลัวยึดถือเป็นที่พึ่งและยอมให้เป็นนาย เขาจึงถือศีลธรรมแบบนาย (master morality) ตราบเท่าที่ไม่มีคู่แข่ง ครั้นมีคู่แข่งก็จะต้องต่อสู้กันจนตายไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าหากพบผู้ที่มีพลังเข้มข้นแสดงความเป็นนายเหนือตนมากๆ เห็นว่าไม่มีประตูสู้แน่ๆ เขาจะยอมจำนนโดยถือศีลธรรมแบบทาส ทั้งนี้เพื่อจะได้มีโอกาสใช้ศีลธรรมแบบนายกับผู้ที่อ่อนแอกว่าต่อไปได้โดยสะดวก บางครั้งเขาอาจจะยอมจำนนต่อคู่แข่งที่มีพลังใกล้เคียงกับตนชั่วคราว เพื่อหาโอกาสล้มล้างในเวลาต่อมา
นีทเชอ คิดว่ามนุษย์ในระดับนายมีพลังเข้มข้นกว่ามนุษย์ระดับทาส จึงเอาเปรียบทุกคนและทุกสิ่งที่อ่อนแอกว่าตนในทุกวิถีทาง พวกนี้ทำความเจริญให้แก่มนุษยชาติ แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมนุษย์ระดับทาสและระดับนายต่างก็มีกิเลสเป็นเครื่องนำทาง จึงต่างก็เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยกันทั้งสิ้น
๓) ระดับอภิมนุษย์ (superman หรือ overman ตรงข้ามกับ subman หรือ last man – wbm) มนุษย์ในระดับนี้ได้แก่ นักปราชญ์ผู้เห็นแจ้งในสัจธรรม รู้ว่าเบื้องหลังของสิ่งที่ปรากฎทั้งหลายคือเจตจำนงที่จะมีอำนาจ รู้ว่าพลังหน่วยย่อยทั้งหลาย ดิ้นรนเอาเปรียบกันอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงตกเป็นเหยื่อแห่งการเอาเปรียบกันอย่างไม่รู้จบสิ้น นีทเชอ คิดว่าศาสดายิ่งใหญ่ทั้งหลายในอดีตได้เห็นสัจธรรมนี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถพูดออกตรงๆ อาจเป็นเพราะยังไม่พบคำศัพท์ที่เหมาะสมหรืออาจจะกลัวผู้ฟังไม่เข้าใจ นีทเชอ คิดว่าตนเองเห็นแจ้งในสัจธรรมเช่นกันและจะทดลองเสี่ยงพูดตรงๆ ดู

มนุษย์เราเกิดมาจะอยู่ในระดับทาสหรือระดับนายอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าได้ส่วนแบ่งจากพลังธรรมชาติมาเข้มข้นเพียงไร ไม่ว่าจะเกิดมาในระดับใดก็ย่อมไม่อยู่ในระดับที่สมบูรณ์ หากไม่ปรับปรุงตัวเองก็จะมีความทุกข์และก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เพราะต่างก็เห็นแก่ตัว พยายามดิ้นรนเอารัดเอาเปรียบกันและกัน
ทางพ้นทุกข์มีอยู่อย่างเดียวคือ แต่ละคนจะต้องมุ่งปรับปรุงตัวเองให้เป็นอภิมนุษย์ วิธีปรับปรุงก็คือศึกษาปรัชญาให้รู้สัจธรรมอันแท้จริง และฝึกฝนตนให้มีใจอุเบกขาและสงบ หากในโลกนี้ทุกตนเป็นอภิมนุษย์กันทั้งหมด มนุษย์เราจะอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

ทฤษฎีของ นีทเชอ พวก individuals ที่สามารถควบคุมตนเองได้โดยไม่สนใจใคร จะแต่งตัวโป๊หรืออะไรก็แล้วแต่โดยไม่สนใจคนอื่น อันนี้เป็นเรื่องยากที่จะหาคนที่มีความกล้าหาญแบบนี้ อันนี้คือลักษณะของ Over Man เป็นคนที่กล้าทวนกระแส กล้าต่อต้านกับกระแส หมายความว่าเป็นการยกเลิก categories ทาง ethic เป็นการยกเลิกไม่สนใจเรื่องจริยธรรมเลย ทำอะไรที่ตรงกันข้ามกับ สิ่งที่ผู้คนทั่วไปกำลังคิดกันอยู่ artistic creativity นิทเชอบอกว่าอันนี้สรุปคือ ถ้าสมมุติว่าเรายอมรับว่าพระเจ้าไม่มีอยู่ ไม่มีระบบศีลธรรมอะไรทั้งสิ้นที่มาช่วยเหลือเราในการดำเนินชีวิตได้ คงจะมีหลายต่อหลายคนรู้สึกผิดหวัง คือหมายความว่าผู้คนทั่วไปมักจะผิดหวัง


มนุษย์ผู้ไม่มีคำว่า....พอ
คำพูดของ
นีทเชอ เป็นการมองสังคมเหมือนของที่อยู่สุดขั้วกัน เช่น สังคมมีดีก็มีเลว มีนายก็ต้องมีบ่าว แต่ในคนที่แข็งแรงกว่าหรือมีความโดดเด่นนั้นทุกคนมีสิ่งแฝงเร้นอยู่ในตัวคือ ความกระหายอำนาจ (Will-to-power) ทำให้ต่างก็รอจังหวะเวลาโอกาสที่เหมาะสม เพื่อจะผลักให้ตัวเองนำหน้าคนอื่นๆออกไป และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ในบางชุมชนการยึดเอาอำนาจเข้ามาเป็นของตัวนั้น ได้กลายเป็นวัฏจักรที่แม้วันคืนผ่านไปนานนับทศวรรษ ก็ยังเป็นเหมือนเดิมเป็นเครื่องพิสูจน์คำพูดของ นีทเชอ ได้เป็นอย่างดี
** วาระสุดท้าย นิชเช่ เป็นบ้าครับ ล้มป่วยอยู่ถึง 10 ปีที่มา :http://olddreamz.com/bookshelf/zarathus/zaracontent1.html

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น