วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

>> วิกฤติเศรษฐกิจที่ยุโรปยังไม่จบสิ้ิน...ไซปรัสยื่นขอรับความช่วยเหลือจากอียูเป็นรายที่ห้า

ยุโรปที่มั่งคั่งมาแต่โบราณ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้มีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป -อียู แน่นอนมันคือตลาดขายสินค้าใหญ่แห่งหนึ่งของไทย

มันใหญ่ขนาดบริษัทอาหารใหญ่ๆ ของไทยที่ไม่มีสินค้าขายในยุโรปเลย ส่งขายเฉพาะในเอเชีย ต้องไปขอร่วมงานแสดงสินค้าและอาหาร เพื่อการยกระดับตราสินค้าของตัวเองในตลาดเอเชีย  เอาสินค้าไปชุบตัวที่งานแสดงอาหารที่ยุโรป !


แต่ช่วงหลังๆ นี้ สมาชิกอียู หลายประเทศมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน ไม่เช่นนั้นประเทศจะล้ม ! แล้วจะพาให้ประเทศอื่นๆ เดือดร้อนไปด้วย ต้องช่วยนะครับ แต่การช่วยเหลือนั้นมันก็ต้องมีเงื่อ่นไขเป็นธรรมดา เริ่มต้นด้วย สาธารณรัฐไอร์แลนด์ โปรตุเกส 
สเปน และกรีซ บัดนี้ข่าวล่าสุดบอกว่า ต้องหาทางช่วยเหลืออีกแล้ว ไซปรัส


ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย....คิดว่าย่อส่วนประเทศเป็น สหกรณ์ ก็แล้วกัน อ้าวก็สหกรณ์ยังพึ่งพาเงินทุนจากภายนอกอยู่ไม่ใช่หรือ เงินทุนไม่พอเพียง กระแสเงินสดฝืดเคือง สุดท้ายที่ส่งผลกับการให้บริการสมาชิก (เฉพาะสหกรณ์ในภาคการเกษตรนะครับ สหกรณ์นอกภาคการเกษตรก็อีกภาพหนึ่งครับ)
ประเทศไซปรัสได้กลายเป็นประเทศที่ห้าที่ยื่นขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของกรีซ

ไซปรัสนั้นมีความใกล้ชิดกับกรีซซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก โดยรัฐบาลไซปรัสนั้นแถลงว่าไซปรัสจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือจากปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากภาคการเงินของไซปรัสที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจของกรีซอย่างมาก โดยธนาคารของไซปรัสนั้นถือครองพันธบัตรรัฐบาลของกรีซ และปล่อยกู้ให้กับธุรกิจของไซปรัสที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของกรีซ โดยกรีซนั้นเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไซปรัส

ปริมาณความช่วยเหลือนั้นยังไม่มีการตกลงกัน โดยเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยุโรปและธนาคารกลางยุโรปจะพิจารณาว่าความช่วยเหลือจะเป็นเท่าใด แต่เป็นไปได้ว่า ปริมาณความช่วยเหลืออาจอยู่ที่หนึ่งหมื่นล้านยูโร ซึ่งมากกว่าครึ่งของขนาดเศรษฐกิจของไซปรัส

ปัจจุบันไซปรัสได้กู้เงินจากรัสเซียไปแล้ว 2.5 พันล้านยูโร และไซปรัสจะต้องหาเงิน 1.8 พันล้านยูโร (ราวหนึ่งในสิบของจีดีพี) ภายในเร็วๆ นี้ เพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารอันดับสองของประเทศ

ไซปรัสเพิ่งถูกลดอันดับเครดิตจากฟิตซ์เข้าสู่ระดับขยะเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ทั้งสามสถาบันจัดอันดับหลัก ต่างประเมินเครดิตภาครัฐของไซปรัสอยู่ในระดับขยะทั้งหมด ทำให้เป็นเรื่องยากมากที่ไซปรัสจะสามารถระดมทุนด้วยตัวเองได้ 

ที่มา - BBC NewsFinancial TimesReuters

ข้อมูลเพิ่มเติม
สาธารณรัฐไซปรัส Republic of Cyprus

ที่ตั้ง อยู่ในทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๓ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ ๒๔๐ ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย ๖๔ ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี ๔๔ ไมล์ และห่างจากเกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ ๒๔๐ ไมล์

พื้นที่ ๙,๒๕๑ ตารางกิโลเมตร แต่อยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๖ ของพื้นที่ทั้งหมด

เมืองหลวง นิโคเซีย (Nicosia) ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลังจากการยึดครองส่วนเหนือของเกาะไซปรัสในปี ๒๕๑๗

ประชากร ๗๘๔,๓๐๑ คน เป็นเชื้อสายไซปรัสกรีกประมาณ ๕ แสนคน และไซปรัสตุรกีประมาณ ๒ แสนคน โดยอาศัยอยู่ในดินแดนสาธารณรัฐไซปรัส ๖๕๕,๐๐๐ คน และอยู่ในดินแดนไซปรัสตอนเหนือ ๑๘๒,๐๐๐ คน 

ภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม 

ภาษาราชการ กรีก ตุรกี 

ศาสนา คริสต์นิกายไซปรัสออร์โธด็อกซ์ ร้อยละ ๗๘ มุสลิมนิกายสุหนี่ ร้อยละ ๑๘ นอกจากนี้ ยังมีคริสต์นิกายมาโรไนต์ นิกายโรมันคาทอลิก และนิกายอาร์มาเนียนออร์โธดอกซ์อีกด้วย

วันชาติ ๑ ตุลาคม

หน่วยเงินตรา ยูโร โดย ๑ ยูโร = ๔๗.๑๕ บาท (ณ วันที่ ๒๐ ม.ค. ๒๕๕๓)

ภูมิหลัง 
๒๕๐๓ ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร 
๒๕๑๗ เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจากประเทศตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ ๓๖.๒% ของเกาะไซปรัส 
๒๕๒๖ ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว 
๒๕๔๕ สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ

การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
ไซปรัสได้ลงนามความตกลงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๖ ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในช่วงที่ประเทศกรีซดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป และไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑พฤษภาคม ๒๕๔๗ โดยรัฐบาลไซปรัสได้เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกระหว่างไซปรัสกรีกและ ไซปรัสตุรกี และรัฐบาลไซปรัสจะทบทวนนโยบายและกำหนดมาตรการต่อชาวไซปรัสตุรกีให้ได้รับ สิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของไซปรัส อาทิ มาตรการด้านการเคลื่อนย้ายสัญจร โอกาสในการรับจ้างงาน โอกาสด้านมนุษยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น 

เศรษฐกิจการค้า
ดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญ (ปี ๒๕๕๒)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ๒๒.๘๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

รายได้เฉลี่ยต่อหัว ๒๑,๒๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ 

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ -๐.๘ 

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ๐.๓

สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออก อังกฤษ ๒๔.๔% ฝรั่งเศส (๑๑%) เยอรมนี (๗.๒%) กรีซ (๖.๔%)

สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโครเลียม เครื่องจักร

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการนำเข้า รัสเซีย (๓๖.๓%) กรีซ (๖.๕%) อังกฤษ (๕.๓%) เยอรมนี (๕.๒%) อิตาลี (๕.๑%) ฝรั่งเศส (๔.๘%)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน

อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

ที่มา : http://www.thaiembassy.it

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น