ทำไมผมถึงตื่นเต้น จนต้องรีบค้นหาข้อมูลมานำเสนอ.....ลองมาดูบทสัมภาษณ์เก่าๆ ที่ผมเก็บไว้.....
"พันศักดิ์ วิญญรัตน์" กุนซือ ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ คนสำคัญของรัฐบาลคิดเร็วทำเร็ว แต่ความช่างคิดใหม่ทำใหม่ของเขานั้น อาจจะเป็นทำนอง ‘เข้าแก๊งไหนหัวหน้าถูกรัฐประหารหมด’ เช่นกัน จากรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ เขาเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ครั้งนั้น ผลงานที่โดดเด่นของรัฐบาลชาติชาย คงไม่พ้นเรื่องการเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า รัฐบาลชาติชายถูกรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เขาหายไปจากแวดวงพักใหญ่ และกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในตำแหน่งประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกจดจำไปตราบนานเท่านาน ในฐานะเจ้าพ่อประชานิยม และแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ก่อนที่ทักษิณจะถูกโค่นอำนาจโดยการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549
ตอนหนึ่งของคำสัมภาษณ์ โดย Siam Intelligence
คุณชาติชายให้ผมเข้าไปในฮานอยตอนที่ B52 กำลังบอมบ์อยู่ ผมไปคุยกับเวียดนามว่าคนไทยอยากสานเสวนาด้วย ในช่วงที่อเมริกันกำลังถอนตัวจากเวียดนาม งานของผมคุกคามประเทศไทยตรงไหน งานของผมทำให้ธนาคารทหารไทยสามารถเปิดสาขาที่ไซ่ง่อนได้ตอนที่สงครามเลิก มันคุกคามตรงไหน คงไม่ใช่ผมมั้ง
ผมว่าที่เค้ามีปัญหากัน มันเป็นเรื่องทัศนคติของอำนาจ (perception of power) มันไม่เกี่ยวอะไรกับผมเลย
รัฐประหารเมืองไทย ผมสองในเท่าไรนะ สิบกว่า? คุณก็ต้องไปถามคนอื่นด้วยนะ ไปถามเขาด้วยว่าทำอะไรถึงโดน
ถ้าผมไม่ถูกรัฐประหารสิ น่าสนใจมากเลย คนที่เคยครองอำนาจอยู่ มีความเป็นเหตุเป็นผล (get rational) และเข้าใจอนาคต ผมโดนรัฐประหารก็หมายความว่า it stays the same ก็เท่านั้น
ที่มา : Voice TV.
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ อดีตที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษานโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.55 เป็นต้นไป
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่
1. ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้การนำนโยบายไปปฏิบัติทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การต่างประเทศ การปฏิรูปกฎหมายเพื่อการพัฒนา และการบริหารงานยุติธรรมให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดแก่ประเทศ
2. รวบรวมและติดตามข้อมูล และความเห็นจากราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมถึงการขอให้ส่งเอกสาร หรือเชิญเจ้าหน้าที่มาชี้แจงแสดงความเห็นหรือตอบข้อซักถามประกอบการพิจารณา
3. ประสานงานและรับผิดชอบร่วมกับ ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาหรือคณะกรรมการด้านอื่น ๆ ที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งหรือจะแต่งตั้งขึ้นภายหลังเฉพาะในส่วนการนำนโยบายไปปฏิบัติ, 4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น และ 5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ทำการ วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ และงานธุรการให้แก่ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี และคณะทำงานที่จะแต่งตั้งขึ้นตามความจำเป็น ซึ่งการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ประเทศไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง ! (form เปลี่ยนไปตามเวลา แต่ contents ไม่เปลี่ยน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น