วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

>> สหกรณ์การเกษตรวังเจ้า กับนาโยน

เมื่อประมาณปี 2552 ที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินวังเจ้า จำกัด (ท่านอุดร  ตันติสุนทร อดีต สส.สว.รมช.กระทรวงเกษตร) ได้สนับสนุนให้สหกรณ์เป็นผู้เผยแพร่การทำนาโยน เพื่อลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ อ.วังเจ้า สหกรณ์จึงได้ดำเนินการให้บริการทั้งในด้านความรู้ คำแนะนำ อุปกรณ์ ฯลฯ ให้กับสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้สนใจ

เนื่องจากการทำนาโยนเป็นเรื่องใหม่ และเพื่อการให้บริการกับสมาชิกได้ผลอย่างแท้จริง สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินวังเจ้า จำกัด โดยคณะกรรมการสหกรณ์และผู้จัดการสหกรณ์ "พิเชษฐ์  พบพืช" จึงได้ดำเนินการทำนาโยนด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ ปัญหา อุปสรรค ที่แท้จริงในการทำนาโยน จนปัจจุบันนี้ สหกรณ์สามารถให้บริการสนับสนุนเรื่องการทำนาโยนได้อย่างครบถ้วน รวมทั้ง "พิเชษฐ์  พบพืช" ได้รับเชิญให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่างหลักสูตร "ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท" ของวิทยาลัยชุมชนตาก และได้เสนอให้หลักสูตรมีการบรรจุเรื่องบัญชีต้นทุนเข้าไปด้วย เพื่อเกษตรกรจะได้รู้ถึงผลการทำงานที่แท้จริงของตนเอง และพื่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง การทดลองทำนาโยนปีแรกก็ได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวปีแรก ก็ยิ้มแย้มแจ่มใสไป (นาปี 2555 เป็นการทำนาโยนด้วยตนเองครั้งที่ 2) มีบันทึกเป็นรูปภาพดังต่อไปนี้
เมล็ดพันธุ์ข้าว ต้องชั่งน้ำหนักก่อนนำไปหยอดในถาดเพาะกล้า (มีจำหน่ายที่สหกรณ์) ทุกอย่างจดบันทึกไว้ทุกขั้นตอน
 "พี่ศักดิ์" (ศิษย์เก่าเกษตรตาก) ผู้ตรวจสอบกิจการ แช่พันธุ์ข้าว

 รางหยอดดินเพาะ เมล็ดพันธุ์ข้าว ลงในถาดเพาะ อุปกรณ์นี้ก็อปปี้มาดัดแปลงเอง บางอย่างก็ซื้อ

 หยอดดินลงในถาดเพาะลงไปครึ่งหนึ่งของหลุมเพาะ แล้วลากเครื่องหยอดเมล็ดข้าวลงไป สรุปแล้ว หนึ่งหลุ่มเพาะ หรือหนึ่งต้นกล้าที่จะใช้ปลูกจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 4 - 5 เมล็ดเท่านั้น เสร็จแล้วใช้เครื่องหยอดดินเพาะลากดินโรยกลบหน้าหลุมเพาะอีกครั้้ง ทำงานในร่มครับ

 นำถาดเพาะไปวางเรียงกันบนพื้นที่เรียบ กำจัดวัชชพืชแล้ว กันวัชชพืชงอกมาปน ทางวังเจ้าดัดแปลงจากต้นตำหรับเดิมที่ลพบุรี ใช้ซาแลนพรางแสงคลุมทับอีกที

 ข้าวเริ่มงอก

 การเพาะกล้าต้องคำนวนให้สัมพันธ์กับแรงงานโยนกล้า ช่วงเวลาที่จะโยนข้าว ทะยอยโยนกล้าไปเรื่อยๆ

 กล้าพร้อม ทะยอยขนขนรถไปโยนในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้ว ก็ช่วยๆ กันไม่กี่คน งานเบาๆ ใครก็ทำได้

ตอนแรกก็พิถีพิถันดึงกล้าข้าวออกจากหลุมเพาะมาจัดเรียงด้วยความทะนุถนอม ก็ไปแบบแห้งอย่างนี้แหละครับไม่วุ่นวาย เปรอะเปือน กับขี้โคลน

 เฮ้ย ! ช้าโว้ย ! ม้วนทั้งถาดเพาะขึ้นรถไปเลย ต้องขนไปอีก 30 กว่ากิโล

 รถส่วนตัวของ "พิเชษฐ์  พบพืช" ก็ม้วนๆ ถาดเพาะกล้า ยัดๆ เข้าไป

 นาที่เตรียมไว้ ต.โป่งแดง อ.เมือง เห็นเขียวๆ อย่างนี้ ประมาณ กุมภาพันธ์ จะเริ่มแห้งอย่างรวดเร็ว ต.โป่งแดง ต.วังประจบ เป็นพื้นที่แห้งแล้งซ้ำซากสุดๆ ของเมืองตาก 

 คณะของ สหกรณ์การเกษตรเมืองตาก จำกัด พร้อมผม ไปในฐานะที่ปรึกษาชมรมสหกรณ์จังหวัดตาก คนเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิทยากร ได้รับเชิญให้ไปศึกษาการทำนาโยน (วันหยุดนะครับ) นี่แต่งตัวไปทำนานะครับ อะไรวะ ! ไปทำนาโยน !

 นี่ "พิเชษฐ์  พบพืช" บอกว่าเชิญไปดูการโยนกล้า "แป๊ะ" ผจก. สกก.เมืองตาก (เสื้อยืดไม่มีแขนลายพราง) ต้องโยนกล้า (รวมทั้งผมด้วย) ทำเนียนๆ หน่อย มายืนโยนกล้าในที่ร่มๆ (ผมเคยไปทำข่าวมาแล้วในการโยนกล้าครั้งแรกของจังหวัดตาก อันนั้นก็เนียน ถือกล้องถ่ายรูป เดินไปมา ถาม จด เท่านั้น) เสื้อยืดสวมงอบนั่น "ผอ.วันชัย" ผอ.ร.ร.ตะเคียนด้วน อ.วังเจ้า งานนี้มีคนมาโยนกล้ารวมทั้งเด็ก แก่แล้ว จำนวน 12 คน เท่านั้น ทำไป พักไป

 ผมก็โยนกล้าด้วยนะ "แป๊ะ" บอกว่าทำไมไม่บอกก่อนว่าจะให้มาทำอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวมาให้พร้อม เสื้อสีแขนยาวสีเทาถัดไป "พี่วุฒิ" กรรมการ สกก.เมืองตาก นี่เพิ่งรอดตายจากมะเร็งมาหยกๆ ก่อนหน้านี้เทียวไปหาหมอที่เชียงใหม่เป็นไปบ้านเหนือบ้านใต้

 ฝีมือโยนกล้า...

โยนโด่งๆ ให้มันร่อนลงในนา ก้อนดินที่อยู่ในหลุมเพาะจะเป็นลูกตุ้มให้ต้นกล้าร่อนลงมาเอง ไม่ต้องสนใจว่ามันจะปักดินแบบไหน ธรรมชาติจะทำให้กล้าข้าวดิ้นรนตั้งตัวเอง

 ข้าวเริ่มแตกกอ...มีพืชน้ำด้วย...ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี.....อินทรีย์ล้วนๆ ดูซิไม่ใช้เคมีมันจะเจ๊งไหม ให้ระบบนิเวศน์ในนามันดูแลกันเอง

 แตกกอ...ออกรวง...แล้วครับ...ดูดีๆ ข้างล่างไม่มีน้ำขังแล้วนะครับ ข้าวหนาขนาดนี้ หญ้าอื่นๆ ก็หมดสิทธิ์เสนอหน้าขึ้นมาครับ


สังเกตุการแตกกอของข้าวนะครับ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น (จะพูดคำว่าปุ๋ยก็ไม่เต็มปากเต็มคอ คำว่าปุ๋ยมันมีกฎหมายปุ๋ยค้ำคออยู่ ไปประกาศว่าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก็กลัวโดนจับ)


 ข้าวเมื่อโตเต็มที่มันก็แตกกอหนาแน่น เสมอ เต็มพื้นที่ ไม่เห็นมันห่างเหมือนตอนโยนกล้า ส่วนที่มันห่างเกินไปก็ซ่อมมันไป

 ทำไป..พักไป...รอคนถอนกล้าจากถาดเพาะ หรือขนถาดเพาะมาวางเรียงตามคันนา มันร้อน ผมก็เดินไปหาร่มไม้ที่ หัวไร่ปลายนา เห็นห้างนาใต้ต้นไม้ใหญ่ มันสวยเหลือเกิน เลยถ่ายรูปเก็บไว้ กลางคืนมืด มีฝนตกพรำๆ แสงตะเกียงวับๆ แวมๆ ห่างไกลผู้คน คงเงียบสงบ เออ...แต่มันไม่มีกระแสไฟฟ้า ไม่มีเน็ต ทำไงดีวะถ้ามาอยู่...ขัดข้องหนออีกแล้ว...

 ห่างจากห้างนาไปนิด มีคอกวัว...

คอกวัวใต้ตนไม่ใหญ อะไรมันจะสวยขนาดนี้

Happy Ending ขนไปจำนำที่ สกก.บ้านตาก

รายละเอียดคุยได้กับ "พิเชษฐ์  พบพืช" ผจก.สกก.ปฏิรูปที่ดินวังเจ้า จำกัด อ.วังเจ้า จ.ตาก 
โทร : 086-5915 433,  081-7407 546
Facebook : https://www.facebook.com/pichet.poppuchet 

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 กรกฎาคม 2555 เวลา 16:26

    อดีต ข้าว เกวียน ละ 1 บาท
    ปัจจุบัน ข้าว เกวียน ละ สองสลึง
    อนาคต ข้าว เกวียน ละ ไม่ต่ำ กว่า 1 บาท

    ต่อจากนี้ไป ไม่ใช่ยุค แบ่งปันน้ำมันแล้ว
    จะเป็นยุค แบ่งปันอาหาร เนื่อง จาก จึน อินเดีย และ อินโดนีเซีย คนเกิดมากกว่าอาหารแล้ว อย่างไรก็ต้องซื้อ จากประเทศผู้ผลิตอย่างไทยแลนด์

    อย่าขายที่ดินกันเมื่อ ถนน จากคุณหมิง ถึงสิงคโปร์ ตัดผ่านไทย และ ถนนจากทะวาย ถึงดานัง ตัดผ่านไทย แต่ถ้า ราคาข้าว สองสลึงอย่างนี้ นาหมดแน่ ราคาข้าว ต้อง มากกว่า 1 บาทครับ

    กลุ่มเกษตรกรไทย และ ขบวนการสหกรณ์ไทย ทราบและ จะต้องร่วมมือกันครับ ( ปัจจุบัน หนึ่งบาท ทอง เท่ากับ ประมาณ สองหมื่น สามพัน บาท)

    พีระพงศ์ วาระเสน ส่งเสริมการสหกรณ์

    ตอบลบ
  2. ต้องการสินเชื่อที่รวดเร็ว? นี่คือสินเชื่อ Atlas! เพียงกรอกแบบฟอร์มและรับสถานะการอนุมัติสินเชื่อภายใน 30 นาที ทุกอย่างเกี่ยวกับสินเชื่ออย่างรวดเร็ว. info atlasloan83@gmail .com ส่งข้อความ whatsapp +1 (443) 345 9339

    ตอบลบ